การจัดการของเสียอุตสาหกรรม
การจัดการของเสียอุตสาหกรรม
SCGP ตระหนักดีว่าการสร้างหลักประกันในการผลิตและการบริโภค ผลิตภัณฑ์ของประชาชนอย่างยั่งยืนนั้น มีความจําเป็นอย่างยิ่ง เพราะผลิตภัณฑ์ของ SCGP มีส่วนช่วยในการขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจของ ประเทศ และเสริมสร้างความเป็นอยู่ที่ดีของประชาชน ทุกธุรกิจของ SCGP ต้องมีการดูแลการใช้ทรัพยากรอย่างเคร่งครัดถูกวิธี พร้อมมาตรการ จัดการด้านสิ่งแวดล้อม นําแนวคิดเรื่องการบริหารจัดการ ตามหลัก 3R (Reduce, Reuse, Recycle) และหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy Principles) มาปรับใช้ นับแต่เริ่มวางแผนการดําเนินธุรกิจ กระบวนการตัดสินใจ เพื่อการปรับปรุงพัฒนากระบวนการผลิตและ การสร้างนวัตกรรม เป้าหมายสู่การลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ตลอดห่วงโซ่อุปทาน ด้วยการลดโอกาสการเกิดมลภาวะตั้งแต่ต้นทาง เฝ้าระวัง และติดตามป้องกันการเกิดปัญหา รวมทั้งการนําเศษวัตถุดิบ กลับเข้าสู่กระบวนการผลิต นําไปแปรรูปเป็น ผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าเพิ่ม เพื่อช่วยลดการใช้วัตถุดิบจากทรัพยากรธรรมชาติ หรือท้ายสุดไปใช้ เป็นเชื้อเพลิงทดแทน เพื่อความปลอดภัยต่อสุขภาพ ผู้ปฏิบัติงานลูกค้า และชุมชนใกล้เคียง ถ้วยจิตสํานึกใน "ความถือมั่นในความรับผิดชอบ ต่อสังคม"
กลยุทธ์ SCGP
และหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy Principles)
ทั้งของเสียอันตรายและไม่อันตรายภายใน SCG และ SCGP ให้มากที่สุด โดยใช้มาตรการ มาตรฐาน
ที่กําหนดจากภาครัฐหรือองค์กรมาตรฐานโลกเป็นบรรทัดฐาน และมุ่งดําเนินการให้ดีกว่าที่กําหนด (Beyond compliance)
เป้าหมาย | ผลดำเนินงานปี 2566 |
---|---|
0 ตัน ปริมาณของเสียอุตสาหกรรมที่นำไปฝังกลบ เป้าหมายทุกปี เฉพาะในประเทศไทย | ผลดำเนินงานปริมาณของเสียจากกระบวนการผลิต เท่ากับ 0 ตัน ที่นำไปฝังกลบ ในประเทศไทย ปี 2566 |
เป้าหมายลดปริมาณของเสียต่อตันผลิตภัณฑ์ที่่่ต้อง กำจัดในประเทศไทยโดยการเผาทำลาย โดยไม่ได้พลังงาน 100% เทียบกับ ปริมาณ ณ ปีฐาน 2557 ภายในปี 2568 | ผลดำเนินงานปริมาณของเสียต่อตันผลิตภัณฑ์ที่ต้องกำจัดโดยการเผาทำลายโดยไม่ได้พลังงานในประเทศไทย 0 กิโลกรัม / ตันผลิตภัณฑ์ ปี 2566 |
ลดปริมาณการเกิดของเสียไม่อันตรายในประเทศไทยเท่ากับ 307 กิโลกรัม / ตันผลิตภัณฑ์ ปี 2566 | ผลดำเนินงานลดปริมาณการเกิดของเสียไม่อันตรายในประเทศไทยเท่ากับ 289 กิโลกรัม / ตันผลิตภัณฑ์ ปี 2566 |
ลดปริมาณการเกิดของเสียอันตรายในประเทศไทยเท่ากับ 0.9 กิโลกรัม / ตันผลิตภัณฑ์ ปี 2566 | ผลดำเนินงานลดปริมาณการเกิดของเสียอันตรายในประเทศไทยเท่ากับ 0.93 กิโลกรัม / ตันผลิตภัณฑ์ ปี 2566 |
หน่วย: เมทริกตัน
การจัดการของเสียของ SCGP | 2562 | 2563 | 2564 | 2565 | 2566 |
---|---|---|---|---|---|
(1) ปริมาณของเสียทั้งหมดที่ได้รับการใช้ซ้ำ และใช้ใหม่ | 507,000 | 536,000 | 788,000 | 1,066,698.62 | 982,549.16 |
(2) ปริมาณของเสียทั้งหมดที่ได้รับการกำจัด | 507,342 | 531,020.77 | 740,000 | 516,380.50 | 417,625.62 |
(2.1) ปริมาณของเสียที่ได้รับการกำจัดโดยการฝังกลบ | 0 | 0.77 | 18,000 | 12,236.06 | 7,519.10 |
(2.2) ปริมาณของเสียที่ได้รับการกำจัดโดยการเผาเพื่อเอาพลังงาน | 570,000 | 531,000 | 686,000 | 457,394.89 | 377,158.34 |
(2.3) ปริมาณของเสียที่ได้รับการกำจัดโดยการเผาโดยไม่ได้พลังงาน | 342 | 20 | 36,000 | 46,749.55 | 32,406.08 |
หน่วย: พันตัน
การจัดการของเสียของ SCGP (รายละเอียด) | 2562 | 2563 | 2564 | 2565 | 2566 |
---|---|---|---|---|---|
ของเสียอันตราย | |||||
ปริมาณของเสียอันตราย (พันตัน) | 2.00 | 2.66 | 63.95 | 48.4 | 87.7 |
ปริมาณของเสียอันตรายต่อตันผลิตภัณฑ์ (กิโลกรัมต่อตัน) | 0.58 | 0.79 | 11.20 | 8.72 | 15.9 |
ปริมาณการจัดการของเสียอันตราย (พันตัน) | |||||
- การใช้ซ้ำ / การนำกลับมาใช้ใหม่ / การนำกลับมาใช้ประโยชน์ด้านอื่นๆ / การกำจัดโดยการเผาเพื่อเอาพลังงาน | 1.8 | 2.7 | 50.2 | 39.5 | 80.5 |
- การกำจัดโดยการเผาทำลายโดยไม่ได้พลังงาน | 0.06 | 0.02 | 0.06 | 0.21 | 0.03 |
- การฝังกลบ (ตัน) | 0.00 | 0.77 | 14,804 | 8,731 | 7,208 |
ปริมาณของเสียอันตรายที่จัดเก็บในพื้นที่จัดเก็บ ณ ลิ้นปี (พันตัน) | 0.13 | 0.11 | 0.18 | 1.18 | 0.95 |
ของเสียไม่อันตราย | |||||
ปริมาณของเสียไม่อันตราย (พันตัน) | 1,053.91 | 1,042.74 | 1,488.86 | 1,467.01 | 1,358.73 |
ปริมาณของเสียไม่อันตรายต่อตันผลิตภัณฑ์ (กิโลกรัมต่อตัน) | 306.19 | 310.40 | 261.20 | 264.43 | 245.83 |
ปริมาณการจัดการของเสียไม่อันตราย (พันตัน) | |||||
- การใช้ซ้ำ / การนำกลับมาใช้ใหม่ / การนำกลับมาใช้ประโยชน์ด้านอื่นๆ / การกำจัดโดยการเผาเพื่อเอาพลังงาน | 1,074 | 1,064 | 1,470 | 1,429 | 1,279 |
- การกำจัดโดยการเผาทำลายโดยไม่ได้พลังงาน | 0.28 | 0.00 | 36.1 | 36.0 | 32.4 |
การฝังกลบ (ตัน) | 0.00 | 0.00 | 2,946 | 3,505 | 312 |
ปริมาณของเสียไม่อันตรายที่จัดเก็บในพื้นที่จัดเก็บ ณ ลิ้นปี (พันตัน) | 145 | 124 | 103 | 105 | 152 |
การจัดการกากปูนขาว
แปรรูปเถ้าลอยและเถ้าหนัก
เป็นอิฐบล็อก
ปัจจุบัน บริษัทไทยเคนเปเปอร์ จํากัด (มหาชน) โรงงานปราจีนบุรี มีการผลิตไอน้ำและไฟฟ้าโดยใช้เชื้อเพลิงจากถ่านหิน เพื่อนํามาใช้ในกระบวนการผลิตกระดาษ หลังการเผาไหม้เชื้อเพลิงถ่านหินจะเกิดเถ้า ใน 2 ลักษณะ คือ เถ้าหนัก (Bottom Ash) และเถ้าลอย (Fly Ash) ซึ่งโดยทั่วไปจะมีการรวบรวมนําเถ้าเหล่านี้ไปกำจัดด้วยการฝังกลบ แต่ด้วยความมุ่งมั่นของบริษัทสู่เป้าหมายการลดปริมาณของเสียจากกระบวนการผลิต นําไปฝังกลบเป็นศูนย์ (0) จึงมีความเพียรพยายามพัฒนาปรับปรุงกระบวนการจัดการเถ้าเหล่านี้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งโดยทั่วไปการจัดการเถ้า (Ash) สองลักษณะ คือ การนําไปผลิตอิฐบล็อก และการเข้ากระบวนการกําจัด และบําบัดกากอุตสาหกรรมในเตาเผาปูนซีเมนต์ (Cement Kiln)
ในปี 2563 ได้มีโครงการติดตั้งสายการผลิตอิฐบล็อกอัตโนมัติจากเถ้า (Automatic Block Machine) ประกอบด้วย ปรับปรุงพื้นที่และอาคารสําหรับติดตั้งเครื่องจักรและจัดเก็บอิฐบล็อก และติดอุปกรณ์อื่นๆ ประกอบสายการผลิตอิฐบล็อก เช่น ถังเก็บปูนยังเก็บเถ้าหนัก เป็นต้น โครงการนี้เป็นโครงการต่อเนื่อง หลังจากการศึกษาวิจัยพบว่าเถ้าหนัก (Bottom Ash) และเถ้าลอย (Fly Ash) มีองค์ประกอบที่สําคัญสามารถนําไปผลิตเป็นอิฐบล็อกได้ ผลลัพธ์จากโครงการนี้สามารถเพิ่มกําลังการผลิตอิฐบล็อกจากเถ้าได้มากขึ้น ช่วยลดค่าใช้จ่ายในการกําจัดด้วยการเผาที่เตาเผาปูนซีเมนต์ (Cement Kiln) ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมทางอากาศ ลดความเสี่ยงต่อการกระจายขณะขนส่ง นอกจากนี้ เพื่อนํามาใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตอิฐบล็อก เป็นการใช้ทรัพยากรเหลือทิ้งให้เกิดประโยชน์สูงสุดตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) และเป็นการ Upcycle Product อีกด้วย โดยในปี 2564 มีสัดส่วนการส่งเถ้าไปกําจัดต่อการนําไปผลิตเป็นอิฐบล็อก เพิ่มขึ้นจากปี 2563 จาก 70:30 เป็น 60:40
ผลประโยชน์ที่ได้รับจากโครงการนี้
เถ้าลอยเป็นส่วนผสมในสารปรับปรุงคุณภาพของปูนซีเมนต์ผง
ปรับปรุงระบบการรับเถ้าลอย (Fly Ash) เพื่อนําไปเป็นวัตถุดิบทดแทนในการผลิตปูนซีเมนต์ เพื่อประโยชน์ทางเศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม
ก่อนการปรับปรุงระบบการส่งเถ้าลอยของบริษัทสยามคราฟท์อุตสาหกรรม จํากัด เพื่อไปเป็นวัตถุดิบทดแทนในการผลิตปูนซีเมนต์ ของโรงงานผลิตปูนซีเมนต์ ในกลุ่มโรงงานเอสซีจีซีเมนต์ในพื้นที่จังหวัดสระบุรีนั้น การขนส่งเถ้าลอยแบบดั้งเดิมจะใช้ขนส่งด้วยรถบรรทุก แต่ว่าการขนส่งเถ้าลอยถ้วยรถบรรทุกแบบนี้ ทําให้มีค่าดําเนินการสูงขึ้น เนื่องจากเถ้าลอยจะต้องมีการพ่นน้ำ (Spray) เพื่อป้องกันฝุ่นฟุ้งกระจาย ขณะจ่ายลงบนรถบรรทุก แต่ในระบบใหม่จะมีการขนส่งเถ้าลอย โดยใช้รถไซโล (Bulk Feed Truck) แทนการการขนส่งทางรถบรรทุก เพื่อไปจัดเก็บที่ไซโลของโรงงานปูนซีเมนต์ แม้ไม่มีปัญหาการฟุ้งกระจายระหว่างการขนส่ง แต่ยังพบปัญหาการฟังกระจายของฝุ่นเถ้าลอย ขณะนำออกมาใช้งาน
ปี 2563 บริษัท ได้ทําการศึกษาการแก้ไขปัญหาร่วมกับ บริษัทเอสซีโอ อีโค่ เซอร์วิสเซส จํากัด และบริษัทปูนซิเมนต์ไทย (แมคอย) จํากัด โดยบริษัทได้แนะนําเทคโนโลยีการใช้ Screw Mixer ในการพ่นน้ำา (Spray) เพื่อลดการฟุ้งกระจายเมื่อต้องการน้ําเถ้าลอยออกจากไซโลไปผสมกับวัตถุดิบอื่นๆ ในการผลิตปูนซีเมนต์ ปัจจุบันบริษัทปูนซิเมนต์ไทย (แก่งคอย) จํากัด ได้ทําการติดตั้ง Screw Mixer เสร็จแล้ว 2 ชุดคือ ที่หม้อเผาหมายเลข 4 ปี 2563 และหม้อเผาหมายเลข 5 ในปี 2564 ผลที่ได้รับจากโครงการนอกจากจะช่วยลดปุ่นในการจ่ายลมรถ เนื่องจาก การขนส่งด้วยรถไซโล (Bulk Feed Truck) แทน ยังช่วยลดค่ากําจัดลงได้ 24 ล้านบาทต่อปี เพราะไม่ต้องมีการพ่นน้ํา (Spray) ที่ต้นทางคือ บริษัทสยามคราฟท์อุตสาหกรรม จํากัด ทําให้ต้นทุนการกําจัดถูกลง อีกทั้งยังลดปริมาณการเกิดของเสียลงได้ประมาณ 30,000 ตันในปี 2564
กากปูนขาวเป็นสารฆ่าเชื้อในฟาร์มกุ้งและฟาร์มปลา และเป็นสารปรับปรุงดิน
บริษัทผลิตภัณฑ์กระดาษไทย จำกัด และบริษัทฟินิคซ พัลพ แอนด์ เพเพอร์ จำกัด (มหาชน) มีของเสียจากกระบวนการผลิตคือ กากปูนขาว (Lime mud) ซึ่งมีต้นทุนการกำจัดปีละประมาณ 40 ล้านบาท จึงร่วมกับบริษัทสยามฟอเรสทรี จำกัดซึ่งมีใบอนุญาตรับกำจัดของเสียเพื่อใช้ทำปุ๋ย ศึกษาหาแนวทางนำกากปูนขาวไปใช้ประโยชน์ในภาคเกษตร โดยพัฒนาเป็นส่วนประกอบผลิตภัณฑ์ปรับปรุงคุณภาพดิน เพิ่มความเป็นด่างและธาตุอาหารให้แก่พืช ขยายตลาดผ่านทางตัวแทนจำหน่าย “ปุ๋ยคู่ดิน” และพัฒนาเพื่อใช้ปรับความเป็นกรด-ด่างในดิน/น้ำ สำหรับฟาร์มกุ้งและฟาร์มปลา จำหน่ายแก่เกษตรกรในพื้นที่ภาคใต้และภาคตะวันออก โดยทดลองร่วมกับศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่งเพชรบุรี
ปี 2563 บริษัทสยามฟอเรสทรี จำกัด สามารถเปลี่ยนของเสียที่ต้องส่งไปกำจัดเป็นผลิตภัณฑ์ 3, 500 ตันต่อปี มีรายได้จากการรับกำจัดกากปูนขาว 3 ล้านบาท และจากการขายสินค้าประมาณ 2 ล้านบาท โดยมีแผนขยายตลาดเพื่อรองรับการกำจัดกากปูนขาวทั้งหมดของโรงงาน
ลดสารเคมีอันตรายในหมึกพิมพ์
บริษัทกลุ่มสยามบรรจุุภัณฑ์ จำกัด ร่วมกับศููนย์พัฒนานวัตกรรมและผลิตภัณฑ์ วิจัยสกัดทองแดงออกจากหมึกพิมพ์บนกล่องกระดาษ และเลือกใช้หมึกพิมพ์ที่มีปริมาณทองแดงต่ำ เพื่อลดการเกิดของเสียที่มีทองแดงจากกระบวนการผลิต โดยอยู่ระหว่างขยายการดำเนินการไปยังโรงงานทุกแห่งของบริษัทกลุ่มสยามบรรจุุภัณฑ์จำกัด