การจัดการมลพิษทางอากาศ

ด้วยความห่วงใยในสุขภาพอนามัยของพนักงานและชุมชนรอบโรงงาน SCGP กำหนดนโยบายการบริหาร จัดการมลภาวะด้านอากาศและกลิ่นอย่างเข้มงวด ตั้งแต่การควบคุมกลิ่นจากแหล่งกำเนิด การลดปริมาณสิ่งที่ทำให้เกิดมลภาวะอากาศและกลิ่น ประกอบกับการสำรวจและตรวจวัดมลภาวะอากาศและกลิ่นเป็นประจำและนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อให้สภาพแวดล้อมพัฒนาดีขึ้น พร้อมทั้งมีการพัฒนาเทคโนโลยีการลดและตรวจวัดอย่างต่อเนื่อง

กลยุทธ์การดำเนินงาน

1
กำหนดเป้าหมายค่าการปล่อยมลพิษอากาศตามแนวทางสากลของกลุ่มธุรกิจเดียวกัน และไม่เกินค่าที่กฎหมายกำหนด
2
ใช้เทคโนโลยีที่ดีที่สุดในการจัดการมลพิษทางอากาศ ทั้งการควบคุมที่แหล่งกำเนิดและปลดปล่อย พร้อมทั้งตรวจสอบคุณภาพอากาศอย่างต่อเนื่อง
3
สร้างการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการมลพิษทางอากาศร่วมกับชุมชนและผู้มีส่วนได้เสียอย่างสม่ำเสมอ

เป้าหมาย

5%
ปี 2568
ลดการปล่อยมลพิษอากาศต่อผลิตภัณฑ์ (ทั้งธุรกิจในประเทศและต่างประเทศ) ร้อยละ 5 เทียบกับปีฐาน 2563
10%
ปี 2573
ลดการปล่อยมลพิษอากาศต่อผลิตภัณฑ์ (ทั้งธุรกิจในประเทศและต่างประเทศ) ร้อยละ 10 เทียบกับปีฐาน 2563

ผลดำเนินงานปี 2564

6.7%
ลดการปล่อยฝุ่นละออง
ต่อผลิตภัณฑ์ เทียบกับปีฐาน 2563
4.2%
ลดการปล่อยก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์
ต่อผลิตภัณฑ์ เทียบกับปีฐาน 2563
4.3%
ลดการปล่อยก๊าซออกไซด์ของไนโตรเจน
ต่อผลิตภัณฑ์ เทียบกับปีฐาน 2563

การจัดการมลภาวะด้านกลิ่น

SCGP กำหนดนโยบายบริหารจัดการมลภาวะด้านกลิ่นตั้งแต่แหล่งกำเนิด โดยการติดตั้งระบบบำบัดมลพิษทางอากาศ ระบบบำบัดทางชีวภาพ ฯลฯ เช่น Wet Scrubber Bio-filter การลดปริมาณของเสียที่เกิดขึ้น เช่น ติดตั้ง Sludge Dryer และจัดทำ Odor Mapping เพื่อควบคุมกลิ่น ไม่ให้รบกวนชุมชนรอบโรงงาน ประกอบกับการสำรวจและตรวจวัดกลิ่นรอบชุมชนเป็นประจำ พร้อมกับนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อให้สภาพแวดล้อมด้านกลิ่นพัฒนาให้ดีขึ้น และมีการพัฒนาเทคโนโลยีการลดและตรวจวัดกลิ่นที่ได้มาตรฐานอย่างต่อเนื่อง

ปี 2564 ศูนย์พัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยี หน่วยงาน Technology and Digital Platform บริษัท SCGP ผู้คิดค้นและประดิษฐ์นวัตกรรม DOM (Detect Odor & Monitoring) ระบบการตรวจวัดและเฝ้าระวังมลภาวะอากาศและกลิ่นแบบครบวงจร ซึ่งได้รับรางวัลนวัตกรรมแห่งชาติด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์ และบริการประเภทการออกแบบบริการในปี 2563 จึงได้ร่วมกับโรงงานผลิตกระดาษสยามคราฟท์ และผลิตภัณฑ์กระดาษไทย ที่อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี และอำเภอวังศาลา จังหวัดกาญจนบุรี ติดตั้ง DOM เพื่อเฝ้าระวัง และควบคุมมลภาวะอากาศและกลิ่นที่เกิดจากการดำเนินงาน พบว่าใช้งานได้ดีและมีประสิทธิภาพสูง ซึ่ง SCGP จะขยายผลความสำเร็จนี้ไปยังพื้นที่โรงงานอื่นๆ ของ SCGP ต่อไป

การจัดการน้ำทิ้ง

เอสซีจีพีดำเนินการบำบัดน้ำจากกระบวนการผลิตของโรงงานก่อนปล่อยออกสู่สิ่งแวดล้อม โดยตรวจวัดคุณภาพน้ำอย่างสม่ำเสมอและกำหนดค่าควบคุมคุณภาพน้ำภายในองค์กรที่เข้มงวดกว่ามาตรฐานทางราชการก่อนปล่อยสู่แหล่งน้ำธรรมชาติ ระบบบำบัดรวม การนิคมอุตสาหกรรม หรือส่งให้เกษตรเพื่อใช้ในการเพาะปลูก รวมถึงตรวจติดตามคุณภาพน้ำในแหล่งน้ำธรรมชาติก่อนและหลังโรงงาน โดยการตรวจวัดค่าพารามิเตอร์ต่างๆ ด้วยวิธีมาตรฐาน เพื่อใช้แบ่งประเภทคุณภาพของแหล่งรับน้ำทำให้มั่นใจว่าน้ำทที่ผ่านการบำบัดแล้ว ไม่ส่งผลกระทบต่อธรรมชาติ และแสดงถึงความพยายามของบริษัทในการปรับปรุงคุณภาพน้ำอย่างต่อเนื่อง

เอสซีจีพีศึกษาเทคโนโลยีใหม่ๆ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบำบัดอยู่เสมอ จัดการฝึกอบรมเกี่ยวกับการทำงานของระบบบำบัดน้ำเสียประเภทต่างๆ ให้กับพนักงานที่เกี่ยวข้องเป็นประจำทุกปี และสนับสนุนให้พนักงานเข้าร่วมการอบรมเรื่องสิ่งแวดล้อมที่จัดขึ้นโดยภาครัฐและภาคเอกชน เพื่อให้พนักงานได้มีโอกาสรับรู้ถึงเทคโนโลยีใหม่ ๆ และสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการปรับปรุงงานให้ดียิ่งขึ้น

เอสซีจีพีเลือกเทคโนโลยีการบำบัดน้ำประสิทธิภาพสูง โดยการติดตั้งระบบบำบัดแบบไร้อากาศในโรงงานทั้งที่อยู่ในประเทศและต่างประเทศ เริ่มต้นจากบริษัทเอสซีจีพี วีนา คราฟท์ เปเปอร์ ประเทศศเวียดนาม และขยายผลไปยังโรงงานต่างๆ อาทิ บริษัทสยามคราฟอุตสาหกรรม จำกัด (โรงงานบ้านโป่งและโรงงานวังศาลา) รวมถึงโรงงานในประเทศฟิลิปปินส์และอินโดนิเซีย ช่วยลดค่าความสกปรกของน้ำก่อนเข้าสู่ระบบบำบัดแบบใช้อากาศ เพิ่มประสิทธิภาพการบำบัดได้ดียิ่งขึ้น อีกทั้งยังช่วยลดพลังงานและมีผลพลอยได้เป็นก๊าซชีวภาพนำไปใช้เป็นเชื้อเพลิงทดแทนในการผลิตไอน้ำและไฟฟ้า