ความรับผิดชอบต่อสินค้าสินค้า บริการ และโซลูชัน

SCGP ผนวกนโยบายความปลอดภัยของสินค้าสินค้า บริการ และโซลูชันเป็นส่วนหนึ่งของระบบการจัดการคุณภาพ (Quality Management System) ให้สอดคล้องกับความรับผิดชอบต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย (Product Liability) โดยควบคุมและติดตามประสิทธิผลของการดำเนินการผ่านคณะกรรมการทบทวนระบบการจัดการคุณภาพของแต่ละบริษัท รวมถึงคณะทำงาน Product Stewardship ของ SCGP ซึ่งครอบคลุมตั้งแต่ การประเมินอันตรายของสินค้า (Product Hazard Analysis, PHA) ในทุกขั้นตอนตั้งแต่การผลิตสินค้า การขนส่ง การจัดเก็บ การใช้งาน และการจัดการเมื่อสิ้นสุดการใช้งาน เพื่อนำสู่การวางแผนป้องกันข้อบกพร่อง ตั้งแต่การออกแบบ การผลิต และการจัดทำฉลากคำเตือนตามมาตรฐานสากลให้มีประสิทธิผลมากขึ้น รวมทั้งจัดให้มีมาตรการตอบสนองในการจัดการวิเคราะห์ สอบสวนข้อร้องเรียน และเหตุฉุกเฉิน เพื่อซักซ้อมความพร้อมในการจัดการหากเกิดข้อร้องเรียนและเหตุฉุกเฉินขึ้นจริง นอกจากนี้ยังจัดให้ความรู้และฝึกอบรมผู้เกี่ยวข้องอย่างสม่ำเสมอ และมีการประเมินประสิทธิผลการดำเนินการด้วยการตรวจติดตามทั้งภายในและภายนอกของระบบ ISO 9001 อย่างต่อเนื่อง ทำให้ในปี 2566 ไม่มีข้อร้องเรียนอย่างมีนัยสำคัญจากการละเมิดข้อกำหนดเรื่องสุขภาพและความปลอดภัย ทั้งจากการใช้สินค้าของผู้บริโภค การให้ข้อมูลสินค้าสินค้า บริการ และโซลูชัน ข้อมูลบนฉลากผลิตภัณฑ์หรือสื่อโฆษณาจากผู้บริโภค และไม่มีค่าปรับเกิดขึ้นจากการไม่ปฏิบัติตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการใช้งานสินค้าและบริการของ SCGP

กลยุทธ์การดำเนินงาน

ผลักดันแนวทางเชิงนวัตกรรมในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ บริการ และโซลูชัน ที่ตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค ยกระดับความเป็นอยู่ที่ดี คำนึงถึงผลกระทบต่อการเปลี่ยนแลงสภาพภูมิอากาศ สิ่งแวดล้อม และสุขภาพอนามัย โดยใช้หลักเศรษฐกิจหมุนเวียน และสร้างโอกาสทางธุรกิจ
ส่งเสริมและพัฒนากระบวนการทางธุรกิจตลอดห่วงโซ่คุณค่าตามมาตรฐานสากล
คำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์ บริการ และโซลูชัน ตลอดวัฏจักรชีวิต
ส่งเสริมให้ผลิตภัณฑ์ได้รับการรับรอง และได้รับฉลากด้านสิ่งแวดล้อม เช่น SCG Green Choice, Carbon Footprint of Product (CFP) และ Carbon Reduction เป็นต้น
ส่งเสริมและสร้างความตระหนักด้านการใช้สินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมแก่ผู้มีส่วนได้เสีย
เป้าหมาย

66.7% (2/3) ของรายได้จากการขายสินค้า

บริการ และโซลูชันที่ได้รับฉลาก
SCG Green Choice เทียบกับรายได้จากการขายรวมในปี 2573

33.3% (1/3) ของรายได้จากการขายสินค้า

บริการ และโซลูชันที่ได้รับฉลาก
SCG Green Choice ที่มอบคุณค่าโดยตรงต่อลูกค้า เทียบกับรายได้จากการขายรวมในปี 2573
ผลการดำเนินงาน 2566

57%

ของรายได้จากการขายสินค้า บริการ และโซลูชันที่ได้รับฉลาก SCG Green Choice เทียบกับรายได้จากการขายรวม

7%

ของรายได้จากการขายสินค้า บริการ และโซลูชันที่ได้รับฉลาก SCG Green Choice ที่มอบคุณค่าโดยตรงต่อลูกค้า เทียบกับรายได้จากการขายรวม

สินค้า บริการ และโซลูชันที่ได้รับรองฉลาก ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมในปี 2566

55
ผลิตภัณฑ์
ฉลากคาร์บอนฟุตพริ้นท์ ของผลิตภัณฑ์ เศรษฐกิจหมุนเวียน
59
ผลิตภัณฑ์
ฉลากคาร์บอน ฟุตพริ้นท์ ของผลิตภัณฑ์
80
ผลิตภัณฑ์
ฉลาก Green Choice
19
ผลิตภัณฑ์
ฉลากเขียว ฉลากสิ่งแวดล้อม ประเภทที่ 1
5
ผลิตภัณฑ์
ฉลากสิ่งแวดล้อม สำหรับ ผลิตภัณฑ์หมุนเวียน

แผนงานการดำเนินงานด้านความรับผิดชอบต่อสินค้า บริการ และโซลูชัน

2563 สำรวจ และประเมินความเสี่ยงด้านความปลอดภัย และผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมของผลิตภัณฑ์ และพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อให้ได้การรับรอง SCG Green Choice
2564 ตั้งเป้าหมาย รวมถึงพิจารณาแนวทางเพื่อจัดการความเสี่ยงด้านความปลอดภัยและผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมของผลิตภัณฑ์ และคำนวณ LCA ของผลิตภัณฑ์
2565 ได้รับการรับรอง Product Carbon Footprint Label (CFP) จำนวน 37 ผลิตภัณฑ์ จากองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) (อบก.)
2566 จัดทำนโยบายความรับผิดชอบต่อสินค้า บริการและโซลูชัน ได้รับการรับรอง Product Carbon Footprint label (CFP) 59 ผลิตภัณฑ์ และ Carbon Footprint of Circular Economy Product (CFP-CE) label จาก อบก.
2567 เพิ่มจำนวนผลิตภัณฑ์ที่ได้รับรอง Product Carbon Footprint label / Carbon Footprint of Circular Economy Product (CFP-CE) label และ Carbon Footprint Reduction (CFR) label จาก อบก.

SCGP ดำเนินการด้านความรับผิดชอบต่อสินค้า บริการ และโซลูชัน
โดยปฏิบัติตามหลักการเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy Principle)

ความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์

SCGP ดำเนินการควบคุมความปลอดภัยของสินค้า เพื่อให้ลูกค้าผู้มีส่วนได้เสียได้รับความปลอดภัยในการใช้งานของผลิตภัณฑ์ โดยประเมินความเสี่ยงด้านความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์ พิจารณาผลกระทบทั้งด้านความปลอดภัย สุขภาพ และสิ่งแวดล้ดม ตลอดทั้งวงจรชีวิตของผลิตภัณฑ์ รวมถึงมีการกำหนดและสื่อสารข้อมูลด้านความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์ให้ผู้มีส่วนได้เสียรับทราบ

การบริหารจัดการสารเคมีอันตราย

เป้าหมาย 2566 : ทุกบริษัท ในเครือของ SCGP (ร้อยละ 100) ต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดของ REACH Regulation (Annex XVII และ substances of very high concern (SVHC) for Authorization)

ผลการดำเนินงาน 2566 : ทุกบริษัทในเครือของ SCGP (ร้อยละ 100) ปฏิบัติตามข้อกำหนดของ REACH Regulation

SCGP ยึดมั่นปฏิบัติตาม และควบคุมการใช้สารเคมีให้สอดคล้องกับ มาตรฐาน กฎหมายด้านสารเคมีทั้งในระดับประเทศและระดับสากล เช่น บัญชีรายชื่อวัตถุอันตราย ตามประกาศกรมโรงงานอุตสาหกรรม REACH (Registration Evaluation Authorization and Restriction of Chemicals) ROHs (Restriction of Hazardous Substances) และกฎหมายด้านสารเคมีอันตรายอื่นๆ เป็นต้น รวมถึงข้อกำหนดและมาตรฐานของตามข้อกำหนดของคู่ค้า เพื่อให้แน่ใจว่าสินค้าและบริการของ SCGP มีความปลอดภัยตลอดทั้งวัฏจักรชีวิตของผลิตภัณฑ์ (Life Cycle Assessment : LCA) โดยพิจารณาครอบคลุมสารเคมีและสินค้าทั้งหมด

SCGP ได้ปฏิบัติตาม SCG Environmental Management Framework ซึ่งมีแนวทางในการจัดการสารเคมีดังนี้

  1. ทำความเข้าใจเกี่ยวกับข้อกำหนดทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจัดการสารเคมีที่ใช้ในองค์กร และดำเนินงานที่สอดคล้องกับข้อกำหนดทางกฎหมายดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง
  2. จัดทำทะเบียนรายการสารเคมีที่ใช้ในองค์กร อันประกอบด้วยรายชื่อสารเคมี จัดประเภทสารเคมี วิธีการ/สถานที่จัดเก็บ ปริมาณจัดเก็บโดยประมาณ
  3. ระบุถึงอันตราย และห้ามใช้วัตถุอันตรายในองค์ตามข้อกำหนดที่เกี่ยวข้อง
  4. จัดให้มีข้อมูลความปลอดภัย (MSDS) ของสารเคมีทั้งหมดที่มีการใช้งานในองค์กรและสินค้าที่เกี่ยวข้อง โดยให้สามารถเข้าถึงได้อย่างรวดเร็ว ณ สถานที่ใช้สารเคมี
  5. กำหนดให้มีกระบวนการในการจัดการสารเคมีที่จัดเก็บในองค์กรและการจัดเก็บวัสดุที่ลดโอกาสในการหกรั่วไหลสู่สิ่งแวดล้อม ป้องกันการสัมผัสสารเคมีของพนักงาน และลดโอกาสการเกิดของเสีย โดยมีความสอดคล้องกับแนวปฏิบัติที่เป็นที่ยอมรับในสากล
  6. ปฏิบัติตามกระบวนการจัดการสารเคมีและการจัดเก็บวัสดุที่กำหนดขึ้นอย่างเคร่งครัด เช่น จัดเก็บน้ำมันและสารเคมีในพื้นที่ที่มีเขื่อนรองรับการหกรั่วไหล เป็นต้น

นอกจากนี้ SCGP ยังได้ตระหนักถึงความเสี่ยงที่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพอนามัยของผู้ปฏิบัติงานจากการใช้สารเคมีและลูกค้าผู้ใช้งาน โดยมีการติดตาม ตรวจสอบส่วนประกอบของวัตถุดิบที่มีการใช้สารเคมีอย่างเคร่งครัด และมุ่งเน้นที่จะลด จำกัด และยกเลิกการใช้สารเคมีที่อาจส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และความปลอดภัยด้านสุขภาพอนามัยของพนักงานและลูกค้า รวมถึงมีการแจ้งข้อมูลการนำสินค้าไปกำจัดขั้นสุดท้ายอย่างเหมาะสม

ในปี 2566 SCGP ไม่พบกรณีความไม่สอดคล้องต่อข้อกำหนด กฎระเบียบและกฎหมายด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยที่เกี่ยวข้อง รวมไปถึงกฎระเบียบด้านการติดฉลากผลิตภัณฑ์ และการสื่อสารเชิงการตลาดของผลิตภัณฑ์

SCGP ได้เปิดเผย MSDS ของผลิตภัณฑ์แก่ลูกค้า และผู้ที่ต้องการทราบข้อมูล

ความปลอดภัยของสารเคมีที่ใช้

สารเคมีได้ถูกนำมาใช้เพื่อปรับปรุงความแข็งแรง และรูปลักษณ์ภายนอกของผลิตภัณฑ์ โดยมีปริมาณการใช้น้อยมากเมื่อเทียบกับปริมาณวัตถุดิบ และยังคงพิจารณาความปลอดภัยจากการใช้สารเคมีเป็นหลักในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ อ้างอิงสารเคมีอันตรายที่อยู่ในบัญชี Substances of Very High Concern (SVHCs) และ Substitute It Now (SIN) SCGP ยืนยันว่า ไม่มีการสารเคมีเหล่านี้ใช้ในบริษัท โดยสารเคมีหลักที่ใช้ คือ แป้ง ส่วนปริมาณการใช้สารเคมีต่างๆ จะถูกบันทึก และตรวจสอบได้ ตามข้อกำหนด ISO9001

Product Composition (Disclosure of substances registration and use)

Corrugated Container Composition Function
Pulp 95% Main Structure
Starch 4% Physical Strength Increase
Other Chemical 1% Physical Strength and Appearance Improvement
Paper Packaging Composition Function
Pulp 90% Main Structure
Plastic e.g. Polyethylene 9% Physical Barrier
Additives 1% Physical Strength Improvement
Plastic Packaging Composition Function
Plastic 97% Main Structure
Ink 2% Printing detail on product
Additives 1% Physical Strength and Appearance Improvement

แผนการนำเคมีอันตรายออกจากกระบวนการ

ถ้าเราพบส่วนประกอบเคมีอันตรายในสารเคมีที่ใช้ในกระบวนการ เราจะดำเนินการตามภาพด้านล่าง โดยเริ่มจากลดปริมาณการใช้งาน และหาสารเคมีปลอดภัยทดแทนโดยเร็ว แต่ในขณะเดียวกันยังสามารถรักษาต้นทุน และคุณภาพที่ยอมรับได้

  1. ผู้ใช้งานหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตรวจสอบสารเคมีที่ใช้งานมีสารเคมีอันตรายตาม Substances of Very High Concern / SIN (Substitute It Now) List และกฎหมายท้องถิ่นฉบับล่าสุด  หากพบสอดคล้องกับ รายการห้ามตามกฎหมาย  จะดำเนินการแจ้งหน่วยงานจัดซื้อเพื่อหาสารเคมีทดแทน  และระงับการสั่งซื้อเพิ่มเติม
  2. จัดซื้อดำเนินการการจัดหาเคมีที่มีประสิทธิภาพเทียบเท่า โดยไม่มีสารเคมีอันตรายเป็นองค์ประกอบ
  3. โรงงานดำเนินการทดลองใช้งานภายใน 60 วัน แจ้งผลต่อจัดซื้อ
  4. หากผลการทดลองผ่าน  นำสารเคมีเข้าระบบควบคุมวัตถุดิบใช้งานทดแทนสารเคมีตัวเดิม
  5. ถ้าไม่ผ่าน ดำเนินการใหม่ตามข้อ 2-4

ทั้งนี้โดยปกติ ในการพิจารณาจัดซื้อสารเคมี จะพิจารณาความเป็นอันตรายของสารเคมีก่อนนำเข้ามาใช้งานเสมอ

Reference: European Commision Brussels, 14.10.2020 COM(2020) 667 final Chemicals Strategy for Sustainability Towards a Toxic-Free Environment

มาตรการป้องกันและลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

SCGP ให้ความสำคัญกับการป้องกันและลดผลกระทบของสารอันตรายและสารเคมี และควบคุม ป้องกันความเสี่ยงและผลกระทบตั้งแต่การออบแบบผลิตภัณฑ์ บริการ และโซลูชัน ในทุก ๆ ขั้นตอน จนถึงการใช้งานและกำจัดสินค้าขั้นสุดท้าย มาตรการสำหรับป้องกันและลดผลกระทบเป็นดังนี้

ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม มาตรการสำหรับป้องกันและลดผลกระทบ
คุณภาพน้ำ
  • ติดตั้งระบบบำบัดน้ำทิ้งที่มีประสิทธิภาพ
  • ควบคุมและติดตามคุณภาพน้ำให้สูงกว่ามาตรฐานตามกฎหมาย
  • ติดตั้งระบบติดตามคุณภาพน้ำทิ้ง (Continuous Wastewater Monitoring System) เช่น COD และ BOD ออนไลน์
คุณภาพอากาศ
  • ติดตั้งอุปกรณ์เพื่อควบคุมและลดมลภาวะทางอากาศ เช่น Wet Scrubbers
  • ติดตั้ง Continuous Emission Monitoring System (CEMs) ตรวจวัดคุณภาพอากาศ เพื่อให้มั่นใจว่าคุณภาพาอากาศผ่านมาตรฐานตามกฎหมาย
  • พัมนาเครื่อง Developing Detect Odor & Monitoring (DOM) เพื่อตวจวัดกลิ่นที่เกิดจากการดำเนินงาน
คุณภาพดิน
  • ติดตั้งระบบหรืออุปกรณ์ป้องกันการรั่วไหลของสารอันตรายและสารเคมีไปสู่สิ่งแวดล้อม เช่น ขอบป้องกันสารเคมีรั่วไหล

ทุกบริษัทในเครือของ SCGP จะมีทีม Corporate Social Responsibility (CSR) เพื่อตอบสนอง ติดตาม และสื่อสารกับชุมชนรอบรอบข้างเพื่อสร้างความเข้าใจและมั่นใจว่าการดำเนินงานของ SCGP เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และมีมาตรป้องกันอย่างเหมาะสมที่ถูกจัดเตรียมไว้ เพื่อป้องกันผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับสิ่งแวดล้อมและชุมชน

Product Recovery

โดยปกติบรรจุภัณฑ์กระดาษและพลาสติกสามารถนำมาใช้ซ้ำ และกลับมาใช้ใหม่ได้ (Reuse & Recycle) โดยที่ยังคงคุณภาพเทียบเท่าเดิมและความปลอดภัยต่อการใช้งานได้ ทาง SCGP มีความเข้าใจและส่งเสริมให้ลูกค้านำบรรจุภัณฑ์กลับมาแปรสภาพใหม่ได้ เพราะถ้าลูกค้ามีความตระหนักและผลักดันการนำวัสดุบรรจุภํณฑ์กลับมาใช้งาน จะเกิดประโยชน์มหาศาลต่อการใช้ทรัพยากรที่เหลืออยู่ในสิ่งแวดล้อมปัจจุบัน

จากเป้าหมาย 100% recyclability ในปี 2573 เราได้สร้างความร่วมมือร่วมกับภาครัฐ และเอกชน ในการผลักดัน Extended Producer Responsibility (EPR) ในหลักการเศรษฐกิจหมุนเวียน พร้อมสร้างความตระหนักและเข้าใจใน EPR รวมถึงเตรียมความพร้อมบริษัทในเครือในการปฏิบัติงานให้ครอบคลุมในหลักการดังกล่าว เช่น เรามีความร่วมมือกับพันธมิตร เช่น Uniqlo ในการเก็บรวมรวบกล่องบรรจุภัณฑ์ที่ใช้แล้ว กลับมาทำเป็นเฟอร์นิเจอร์ในโครงการ UNHCR ที่จังหวัดราชบุรี และกาญจนบุรี

Recyclability

เป้าหมาย

สัดส่วนปริมาณบรรจุภัณฑ์ที่สามารถรีไซเคิลได้ ใช้ซ้ำได้ หรือสลายตัวได้ เท่ากับร้อยละ 100 ของปริมาณบรรจุภัณฑ์ทั้งหมดในปี 2573

ผลการดำเนินงาน 2566

สัดส่วนปริมาณบรรจุภัณฑ์ที่สามารถรีไซเคิลได้ ใช้ซ้ำได้ หรือสลายตัวได้ เท่ากับร้อยละ 99.7

การเปิดเผยสูตรผลิตภัณฑ์

บรรจุภัณฑ์ที่ยั่งยืน

สุขภาพ & สุขอนามัย I ความสะดวกสบาย
การยืดอายุ
การเก็บรักษา
เร็ว & ง่าย
 
ปรับแต่งให้เหมาะ
กับความต้องการ
Fest E-commerce I บริการส่งอาหาร
กระดาษ
สำหรับอาหาร
ปลอดภัย
เมื่อใช้กับไมโครเวฟ
ย่อยสลาย
ได้ตามธรรมชาติ

บรรจุภัณฑ์พอลิเมอร์แบบอ่อนตัว (Flexible Packaging) ผลิตจากฟิล์มประกบหลายชั้น แต่ละชั้นเป็นพอลิเมอร์ประเภทเดียวกัน (Multi-layer mono-material) ด้วยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี R1 และ R1 Plus ทำให้บรรจุภัณฑ์สามารถปกป้องสินค้าและทนต่อแรงกระแทกสูง รวมทั้งสามารถนำกลับมารีไซเคิลเป็นเม็ดพลาสติกและวัสดุอื่น ๆ ได้อย่างมีคุณภาพ ช่วยให้เกิดหมุนเวียนวัตถุดิบทดแทนกลับเข้าสู่ระบบ

R1 ความยั่งยืน
รีไซเคิลได้

Co-creation with leading MNCs & national brands

สร้างคุณค่าร่วมกับลูกค้าบริษัทข้ามชาติชั้นนำและแบรนด์ระดับประเทศ SCGP – Inspired Solutions Studio
  • การออกแบบที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวและโซลูชันที่โดดเด่นเพื่อส่งเสริมแบรนด์ของลูกค้า
  • รวมแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) ไว้ในผลิตภัณฑ์และการบริการ
พัฒนาสินค้า บริการและโซลูชัน ด้วยทีมงานที่มีคุณภาพ
  • 35+ Professional Designers
  • 90+ Researchers & Developers
  • 500+ Sales & Customer Service Team

เอกสารดาวน์โหลด