การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศทำให้เกิดวิกฤตสิ่งแวดล้อมและส่งผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจและอุตสาหกรรม SCGP ยังคงมุ่งมั่นสู่เป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ในปี 2593 โดยให้ความสำคัญกับการจัดหาพลังงานสะอาดเพื่อทดแทนเชื้อเพลิงฟอสซิล พัฒนาเทคโนโลยีเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน มุ่งลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก พร้อมดำเนินกลยุทธ์การฟื้นฟูสภาพภูมิอากาศให้สอดคล้องกับเป้าหมายตามหลักการทางวิทยาศาสตร์เพื่อให้บรรลุเป้าหมายตามที่ตั้งไว้ รวมทั้งสร้างความร่วมมือกับหน่วยงานทั้งภาครัฐและภาคเอกชนในการเฝ้าระวังและประเมินความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น

ความท้าทายและโอกาสการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

ความเสี่ยง

1
การเปลี่ยนแปลงด้านนโยบายและกฎข้อบังคับด้านการควบคุมการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ผ่านกลไกลต่างๆ เช่น การเก็บภาษีคาร์บอน มาตรการปรับคาร์บอนก่อนข้ามพรมแดน และการประกาศเป้าหมายที่เข้มข้นขึ้น เช่น SBTi
2
ความเสี่ยงทางเทคโนโลยี ความผีนผวนของราคาเชื้อเพลิงและขีดจำกัดของแหล่งพลังงาน
3.
ความต้องการของลูกค้าที่เปลี่ยนแปลงไปจากกระแสเศรษฐกิจคาร์บอนต่ำ
4.
ภัยพิบัติทางธรรมชาติ เช่น ปัญหาน้ำท่วม น้ำแล้ง พายุ โรคระบาด ซึ่งกระทบต่อการดำเนินธุรกิจ

โอกาส

1
ลงทุนด้านการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีดักจับและกักเก็บคาร์บอน (Carbon Capture, Utilization and Storage, CCUS) และพลังงานหมุนเวียน
2
ออกแบบและพัฒนาสินค้า และบริการตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน ส่งเสริมและเพิ่มสัดส่วนการใช้วัสดุรีไซเคิล
3.
กำหนดราคาคาร์บอนภายในองค์กร (Internal Carbon Pricing, ICP) เพื่อใช้เป้นเครื่องมือในการพิจารณาการลงทุน
4.
สร้างความร่วมมือกับภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคอุตสาหกรรม และองค์กรระดับโลก ในการติดตามสถานการณ์และประเมินความเสี่ยงอย่างต่อเนื่อง และกำหนดแผนการรับมือและการบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจในกรณีที่เกิดภัยพิบัติ

Management Strategies

1
ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกด้วย 3 มาตรการ
  • การเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานด้วยการปรับปรุงหรือปรับเปลี่ยนเทคโนโลยีที่ดีที่สุด ณ เวลานั้น
  • การเพิ่มปริมาณการใช้พลังงานหมุนเวียนและแหล่งพลังงานสะอาด
  • การพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่มีคาร์บอนต่ำ ตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน
2
การดูดซับและกักเก็บก๊าซเรือนกระจก ด้วย 2 มาตรการ
  • การศึกษาเทคโนโลยีดักจับและกักเก็บคาร์บอนไดออกไซด์
  • การสนับสนุนและมีส่วนร่วมการพิทักษ์รักษาป่าและฟื้นฟูระบบนิเวศให้มีความหลากหลายทางชีวภาพและเพิ่มพื้นที่กักเก็บคาร์บอนไดออกไซด์
3.
ใช้เครื่องมือด้านเศรษฐศาสตร์ เช่น Internal Carbon Pricing (ICP)
4.
ติดตาม ควบคุม ให้การสนับสนุนและดำเนินการเพื่อการฟื้นฟูสภาพภูมิอากาศและการจัดการพลังงานโดยคณะกรรมการการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและพลังงานซึ่งมีการประชุมทุกไตรมาส

การมุ่งสู่การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Scope1+2)

ปี 2564 SCGP ได้ปรับปรุงการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในปีฐาน โดยรวมโรงงานในต่างประเทศ ซึ่งมีการปล่อยเท่ากับ 2.07 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า ส่งผลให้ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศอยู่ที่ 4.99 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า

ปี 2566 SCGP ตั้งเป้าหมายใหม่ โดยเพิ่มความทะเยอทยานในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจาก 20% เป็น 25% ภายในปี 2573 เมื่อเทียบกับปีฐาน 2563 (4.99 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า) และตั้งเป้าที่จะบรรลุการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์โดยการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (GHG) Scope1+2 ให้ได้ 100% ภายในปี 2593

กลยุทธ์การดำเนินงาน

1
เพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน
ด้วยเทคโลโนยีที่ดีที่สุด ณ เวลานั้น
2
เพิ่มการใช่พลังงานหมุนเวียนและพลังงานสะอาด
เช่น เชื้อเพลิงชีวมวล พลังงานจากแสงอาทิตย์
3
ผลิตสินค้าที่มีคาร์บอนต่ำ
ด้วยการพัฒนาผลิตภัณฑ์ตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน และวิธีการผลิตที่มีคาร์บอนต่ำตลอดห่วงโซ่อุปทาน
4
ศึกษาเทคโนโลยีการดับจับและกักเก็บคาร์บอน
โดยให้ความร่วมมือกับองค์กรต่างๆ เพื่อยกระดับเทคโนโลยีให้เป็นรูปธรรม
5
Natural Climate Solution
สนับสนุนและมีส่วนร่วมกับชุมชน และภาครัฐ ในการพิทักษ์รักษาป่าไม้ และฟื้นฟูระบบนิเวศป่า เพื่อเพิ้มพื้นที่การดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
6
ประยุกต์ใช้เครื่องมือด้านเศรษฐศาสตร์
เพื่อส่งเสริมการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
7
การสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับการอนุรักษ์พลังงานและการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในหมู่พนักงานและผู้รับเหมา

GHG Roadmap

  • Announced Sustainability Goals.
  • Achieved the goal of GHG Emission Reduction 12.8% from the reduction target of 10% compared with Business as usual (BAU) at the base year of 2007
  • Announced Targets
    • Net Zero by 2050
    • Reduce greenhouse gas emission 25% by 2030 compared with the base year of 2020 both Thailand and abroad at the base year of 2007
  • Set Internal Carbon Pricing: ICP
  • Task Force on Climate - RelatedFinancial Disclosure(TCFD)
  • Expand the use of biogas fuel, and solar power
  • Reporton greenhouse gas emissions scope 3.
  • Achieve the goal of :
    • Energy consumption reduction 13% by 2025 compared with base year 2007
    • Greenhouse gas emission reduction 25% compared with base year of 2020 both Thailand and abroad
  • Using biomass fuel and natural gas-boiler technology to generate electricity
  • Improving :
    • Biomass quality by adopting Torrefaction Technology
    • Energy efficiency by Turbo Blower
  • Increase the proportion of renewable energy use by 80%
  • Achieve Net Zero
  • Carbon offset by
    • Natural Climate Solution: NCS
    • Carbon Capture, Utilization and Storage: CCUS

เป้าหมาย

ปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์
ภายในปี
2593
25 %
ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
ภายในปี 2573 เทียบกับปี 2563 ทั้งธุรกิจในประเทศไทยและต่างประเทศ
13 %
ลดการใช้พลังงาน
ภายในปี 2568 เทียบกับกรณีปกติ ณ ปีฐาน 2550

ผลดำเนินงานปี 2566

19.5 %
ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในขอบเขตที่ 1 และ 2 (GHG Scope 1 & 2)
7.8 %
การลดการใช้พลังงาน

ประสิทธิภาพการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

การปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั้งหมด

การปล่อยก๊าซเรือนกระจก ขอบเขตที่ 1

การปล่อยก๊าซเรือนกระจกขอบเขตที่ 2 (Market-based vs Location-based)

อัตราการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั้งหมด (ขอบเขตที่ 1 และ 2)

การปล่อยก๊าซเรือนกระจกขอบเขตที่ 3 (ครอบคลุมทั้ง 15 หมวดหมู่)

1.46
2.10

หมายเหตุ :

  • ในปี 2565 ข้อมูลจะถูกรวบรวมจากบริษัทในไทยและประมาณการไปยังบริษัทต่างประเทศ (ตามกำลังการผลิต)
  • ปี 2566 รวบรวมข้อมูลจากบริษัทในไทยและต่างประเทศและเพิ่มหมวดที่ 2, 5 และ 10 โดยข้อมูลในตารางประกอบด้วยหมวดที่ 2 ซึ่งคำนวณและ เพิ่มข้อมูลจากรายงานความยั่งยืนของ SCGP ปี 2566

ประสิทธิภาพการใช้พลังงาน

การใช้พลังงาน

อัตราการใช้พลังงาน

การใช้พลังงานไม่หมุนเวียน

การใช้พลังงานหมุนเวียน

การใช้พลังงานไฟฟ้า

เชื้อเพลิงทดแทน

2566
สัดส่วนการใช้
เชื้อเพลิงทดแทน
36.0%

พลังงานหมุนเวียน

2566
สัดส่วนการใช้
พลังงานหมุนเวียน
28.6%

หมายเหตุ:

  • ข้อมูลปี2562 เป็นผลการดำเนินงานของบริษัทในประเทศไทย
  • ปี 2563 เริ่มรวมผลการดำเนินงานการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและการใช้พลังงานของบริษัทในประเทศไทยและต่างประเทศ

Energy การเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน

    • ปรับปรุงประสิทธิภาพระบบ Soot Blower ในโรงงาน 5 แห่งในประเทศไทย ด้วยการคำนวณหาความถี่และระยะเวลาที่เหมาะสมในการใช้ไอน้ำแรงดันสูงทำความสะอาดขี้เถ้า และเขม่าที่สะสมในผนังของหม้อไอน้ำ
    • เพิ่มประสิทธิภาพการป้อนน้ำเข้าหม้อไอน้ำ ติดตั้งระบบควบคุมอัตโนมัติเปลี่ยนขนาดปั๊มน้ำ ปรับปรุงการต่อท่อน้ำ และการเดินปั๊มน้ำ เพื่อลดการสูญเสียความร้อนในจุดต่างๆ ของระบบ
    • เพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานของเครื่องผลิตกระดาษ บริษัทสยามคราฟท์อุตสาหกรรม (โรงงานบ้านโป่ง) ได้ติดตั้งเครื่องบดเยื่อกระดาษทรงกรวย (Conical Refiner) ที่มีประสิทธิภาพการใช้พลังงานที่ดีขึ้น จำนวน 1 เครื่อง เพื่อทดแทนเครื่องเดิม 3 เครื่อง นอกจากนี้ได้ทำการปรับปรุงระบบการควบคุม Central Air Compressor System (CACs) ใหม่และต่อไลน์ท่อไปยังเครื่องผลิตกระดาษ
    • ขยายการติดตั้งปั๊ม Turbo Vacuum บริษัท PT Fajar Surya Wisesa Tbk. ได้ขยายการติดตั้งเครื่องจักรด้วยเทคโนโลยีใหม่แทนระบบเก่าที่เครื่องกระดาษจำนวน 3 เครื่อง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพระบบสกัดน้ำออกจากกระดาษ

การเพิ่มการใช้พลังงานหมุนเวียน

ตั้งแต่ปี 2561 SCGP ติดตั้งหน่วยผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์แล้วทั้งสิ้น 49.5 เมกะวัตต์สูงสุด โดยปี 2566 ขยายการติดตั้งทั้งในประเทศและต่างประเทศ รวม 9.7 เมกะวัตต์สูงสุด ช่วยลดก๊าซเรือนกระจก 9,228 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อปี

เพิ่มการใช้เชื้อเพลิงชีวมวล

SCGP มุ่งเพิ่มสัดส่วนการใช้เชื้อเพลิงชีวมวล รวมทั้งปรับปรุงระบบหม้อไอน้ำให้ใช้เชื้อเพลิงชีวมวลได้มากขึ้นและป้อนเชื้อเพลิงชีวมวลได้อย่างต่อเนื่องเพิ่มสัดส่วนการใช้พลังงานชีวมวลจาก 8.4% เป็น 12.8% ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ 696,275 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า

ขยายผลโครงการก๊าซชีวภาพ

SCGP เพิ่มการติดตั้งระบบบำบัดน้ำเสียแบบไร้อากาศในโรงงานผลิตกระดาษทั้งในประเทศไทยและฟิลิปปินส์เพื่อนำก๊าซมีเทนที่ได้จากการย่อยสลายสารอินทรีย์ในระบบบำบัดน้ำเสียมาเป็นเชื้อเพลิงสำหรับระบบผลิตไอน้ำทดแทนการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ 13,759 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อปี และประหยัดค่าเชื้อเพลิงฟอสซิลได้ 17.16 ล้านบาทต่อปี

ปลูกต้นไม้สะสม 2.28 ล้านต้น

SCGP ร่วมกับหน่วยงานราชการและชุมชนปลูกต้นไม้อย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2563 ในปี 2566 ปลูก 1,154,609 ต้น ทำให้มียอดสะสมรวมทั้งสิ้น 2,283,284 ต้น โดยในส่วนของโครงการ “SCGP ปลูก ลด ร้อน” ดำเนินการปลูกไปทั้งสิ้น 62,549 ต้น

การรับรองการกักเก็บคาร์บอน

ในปี 2566 บริษัทสยามฟอเรสทรี จำกัด ได้เก็บข้อมูลและได้รับการรับรองการกักเก็บคาร์บอนในพื้นที่สวนไม้เศรษฐกิจ 31,770 ไร่ จำนวน 152,181 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อปี โดยบริษัทเอสจีเอส (ประเทศไทย) จำกัด

มาตรการกำหนดราคาคาร์บอนภายใน

SCGP กำหนดราคาคาร์บอนภายในปี 2565-2567 มูลค่าสูงสุด 25 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้าที่ 18 ดอลลาร์สหรัฐฯ เพื่อเร่งสนับสนุนโครงการต่างๆ

ปัจจุบันมีโครงการที่ได้รับการสนับสนุนจาก ICP แล้ว 12 โครงการ มูลค่าเงินลงทุน 779 ล้านบาท โดยคาดว่าโครงการเหล่านี้จะช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้รวม 81,500 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อปี

SCGP ให้ความสำคัญกับการพัฒนาพนักงานให้ตระหนักถึงการประหยัดพลังงาน และการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก โดยผ่านการฝึกอบรมอย่างต่อเนื่องและแบ่งปันแนวปฏิบัติที่ดี เช่น

  • เทคโนโลยีพลังงานทดแทนใหม่และที่มีอยู่มุ่งเน้นไปที่การอัปเดตเทคโนโลยีปัจจุบันและบูรณาการเทคโนโลยีหมุนเวียนเพื่อค้นหาโอกาสในการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
  • Operation excellence มุ่งเน้นไปที่กระบวนการใช้พลังงานในปัจจุบัน (หม้อไอน้ำ กังหันไอน้ำ ฯลฯ) มีเป้าหมายเพื่อให้บรรลุประสิทธิภาพการดำเนินงานสูงสุดเพื่อลดการสูญเสียพลังงาน

อย่างไรก็ตาม SCGP คว้า 2 รางวัลจากการประกวนโครงการ Operational Excellence จัดโดย SCG ได้แก่

  • Gold Awards
    โครงการ: ลดก๊าซเรือนกระจก 31% จากปีฐาน 2563
    ของบริษัท Vina Kraft Paper Co., Ltd ด้วยการดัดแปลงหม้อต้มไอน้ำเพื่อเพิ่มการใช้ชีวมวลให้ได้มากกว่า 40% ของพลังงานความร้อนทั้งหมด เพื่อเพิ่มปริมาณอุปทานและแหล่งอุปทาน โครงการนี้สามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ 31.85% และประหยัด 40 MB จากการเปลี่ยนเชื้อเพลิงฟอสซิลด้วยชีวมวล และสามารถขยายผลแนวคิดนี้ไปใช้กับโรงงานอื่นๆ ได้
  • Silver Awards
    โครงการ: RMC Steam Reduction Platform
    การตรวจสอบและควบคุมประสิทธิภาพการทำงานของเครื่องจักรแบบเรียลไทม์ ที่สามารถประหยัดการใช้ไอน้ำได้ 110,000 ตันไอน้ำต่อปี ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ 30,000 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อปี และประหยัดต้นทุนพลังงานได้ 130 ล้านบาทต่อปี
นอกจากนี้ SCGP ได้จัดทำและเปิดเผยการจัดการประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศตามแนวทางของ Task Force on Climate-related Financial Disclosures (TCFD) 4 ด้าน คือ Governance, Strategy, Risk Management, Metrics and Targets
Sustainable Taxonomy

ประเทศไทยได้พัฒนากรอ Sustainable Taxonomy หรือ Thailand Taxonomy โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อจัดหมวดหมู่กิจกรรมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยมุ่งเน้นไปที่การลดความแตกต่างในความสามารถของภาคส่วนต่างๆ ในการเปลี่ยนผ่านไปสู่ความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม วัตถุประสงค์หลักคือการบรรเทาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และกรอบการพิจารณาเงื่อนไขและตัวชี้วัดที่โปร่งใสซึ่งสอดคล้องกับสถานะเริ่มแรกและความสามารถในการปรับตัวของธุรกิจในประเทศไทย

Thailand Taxonomy ระยะที่ 1 ได้รับการประกาศในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2566 และมุ่งเน้นไปที่กิจกรรมทางเศรษฐกิจเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์การลดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยเฉพาะในภาคพลังงานและการขนส่ง ระยะที่ 2 คาดว่าจะประกาศภายในปี 2568 และจะมุ่งเน้นไปที่ภาคการผลิต ภาคการเกษตร ภาคอสังหาริมทรัพย์และการก่อสร้าง และภาคการจัดการของเสีย

อย่างไรก็ตาม SCGP สมัครใจจัดทำแผนที่กิจกรรมของเราโดยใช้เกณฑ์การคัดกรอง คำจำกัดความของคุณสมบัติและความสอดคล้องกับ EU Taxonomy ในระดับกิจกรรม ก่อนที่ประเทศไทยจะประกาศใช้อย่างเต็มรูปแบบ

SCGP Sustainable Taxonomies 2023
Download
Disclosure insight action

SCGP has disclosed information through the Carbon Disclosure Project (CDP), an organization that assesses and reports data related to climate change, water management, and forest management. We believes that such disclosure of information supports the development and improvement of sustainable operational processes and helps organizations meet the needs of stakeholders. Additionally, it promotes transparency in the organization's operations.

SCGP’s CDP disclosure 2024
Download