กลยุทธ์

1
บููรณาการการดำเนิินงานด้้านสิิทธิิมนุุษยชน การบริิหารความหลากหลายและยอมรัับความแตกต่่างของบุุคคล ให้้เป็นส่่วนหนึ่งในการดำเนิินธุุรกิิจ ตลอดห่่วงโซ่่คุุณค่่าทั้งในและต่่างประเทศ
2
เสริมสร้างคุณค่า พัฒนาและต่อยอดโครงการการมีส่วนร่วมที่ยึดหลักการเคารพสิทธิมนุษยชน ให้กับผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่มตลอดห่วงโซ่คุณค่า และสังคมโดยรวม
  • พนักงาน : การเคารพสิทธิเป็นหลักพื้นฐาน และยกระดับการบริหารความหลากหลายและยอมรับความแตกต่างในองค์กร
  • คู่ธุรกิจ : มุ่งเน้นการลดความเสี่ยงในการละเมิดและยกระดับคุณภาพชีวิตในสภาพแวดล้อมการทำงาน ซึ่งครอบคลุมทั้งด้านแรงงาน สุขภาพ ความปลอดภัย และความเป็นอยู่ที่ดี
  • คู่ค้า : ยกระดับกระบวนการจัดการความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนที่อาจส่งผลกระทบต่อห่วงโซ่คุณค่า
  • ชุมชน : สร้างการมีส่วนร่วมโดยยึดหลักการเคารพในสิทธิพื้นฐาน และยกระดับคุณภาพชีวิตที่ดี
  • ลูกค้า : ส่งมอบสินค้า บริการ และโซลูชันที่มีคุณภาพ ความปลอดภัย ซึ่งเป็นสิทธิพื้นฐาน และส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ดี
  • ผู้มีส่วนได้เสียอื่นๆ : บริหารจัดการความเสี่ยงสิทธิมนุษยชนอย่างต่อเนื่อง เพื่อป้องกันผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นทั้งจากการละเมิดโดยตรง การมีส่วนร่วมในการละเมิด หรือมีความเกี่ยวข้องจากกิจกรรมของ SCGP ตลอดห่วงโซ่คุณค่า

การบริหารจัดการ

1. ประกาศและทบทวนนโยบายด้านสิทธิมนุษยชน นโยบายด้านการบริหารความหลากหลายและยอมรับความแตกต่างของบุคคลที่สอดคล้องกับมาตรฐานสากลว่าด้วยข้อตกลงโลกแห่งสหประชาชาติ (UNGC) ปฏิญญาว่าด้วยหลักการและสิทธิขั้นพื้นฐานในการทำงานขององค์กรแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) องค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ (OECD) และข้อกำหนดสากลอื่นๆ และขับเคลื่อนนโยบายสู่การปฏิบัติผ่านคณะกรรมการการพัฒนาที่ยั่งยืน SCGP

2. กำหนดกรอบการบริหารความเสี่ยงเป็นแนวทางเดียวกันทั่วทั้งองค์กร และดำเนินกระบวนการจัดการด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน (Human Rights Due Diligence Process) โดยเน้นการดำเนินงานเชิงรุกเพื่อป้องกันการละเมิดสิทธิมนุษยชน

ดำเนินกระบวนการจัดการด้านสิทธิมนุษยชนอย่างต่อเนื่อง
ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ได้แก่

1
กำหนดประเด็นความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชน
2
การระบุกลุ่มผู้ได้รับผลกระทบ
3
การวางแผนและจัดทำแผนแก้ไข รวมถึงมาตรการเพื่อบรรเทาเยียวยาความเสียหาย
4
การตรวจสอบติดตามผล

การดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชน

SCGP ดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชน ตามหลักการชี้แนะด้านสิทธิมนุษยชนกับธุรกิจ (United Nations Framework and Guiding Principles on Business and Human Rights) หรือ UNGP ได้แก่

  • การคุ้มครองสิทธิมนุษยชน (Protect): SCGP ปฏิบัติตามกฎหมาย ข้อกำหนดของภาครัฐ หรือหลักสากลอย่างเคร่งครัด โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสนับสนุนและปฏิบัติตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (Universal Declaration of Human Rights: UDHR) ข้อตกลงโลกแห่งสหประชาชาติ (United Nations Global Compact: UNGC) หลักการชี้แนะเรื่องสิทธิมนุษยชนสำหรับธุรกิจแห่งสหประชาชาติ (United Nations Guiding Principles on Business and Human Rights: UNGP) และปฏิญญาว่าด้วยหลักการและสิทธิขั้นพื้นฐานในการทำงานขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ (The International Labor Organization Declaration on Fundamental Principles and Rights at Work: ILO) รวมถึงมุ่งมั่นในการดำเนินการตามจรรยาบรรณ และนโยบายว่าด้วยเรื่องสิทธิมนุษยชนต่างๆ ที่บริษัทประกาศใช้
  • การเคารพสิทธิมนุษยชน (Respect): SCGP ยึดหลักอุดมการณ์ 4 เป็นแนวทางการดำเนินธุรกิจและกำหนดเรื่องสิทธิมนุษยชนและแรงงานไว้ในจรรยาบรรณเอสซีจีตั้งแต่ปี 2530 และกำกับดูแลผ่านนโยบายที่เกี่ยวข้องเพื่อให้เกิดการดำเนินงานอย่างเป็นรูปธรรม และสื่อสารไปยังบุคลากรทั่วทั้งองค์กร รวมถึงบริษัทคู่ธุรกิจ คู่ค้า และบริษัทร่วมทุน (Joint Venture) ดังนี้

โดยนโยบายต่างๆ ดังกล่าวได้มีการขยายขอบเขตการดูแลไปถึงคู่ธุรกิจผ่านจรรยาบรรณคู่ธุรกิจ SCGP (SCGP Supplier Code of Conduct) และผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่มผ่านนโยบายและแนวปฏิบัติต่อผู้มีส่วนได้เสีย (Stakeholder Engagement Policy) ในการผลักดันนโยบายไปสู่การปฏิบัติโดยการขับเคลื่อนผ่านคณะกรรมการการพัฒนาอย่างยั่งยืน SCGP นอกจากนี้ SCGP เข้าร่วมเป็นคณะทำงาน Human Rights and Stakeholder Engagement โดยเอสซีจี เพื่อร่วมผลักดันให้เกิดการดำเนินงานด้านสิทธิมนุุษยชนทั่วทั้งองค์กร และในปี 2564 คณะทำงาน Human Rights and Stakeholders Engagement ได้จัดทำกรอบการดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชน พร้อมจัดทำแนวปฏิบัติการจัดการสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน (Human Rights Due Diligence Process Guideline) ตามกรอบการบริหารความเสี่ยงของเอสซีจี ที่มีการระบุและประเมินความเสี่ยงผลกระทบทางลบด้านสิทธิมนุษยชนที่เกิดขึ้นจริง (Actual) และที่น่าจะเกิดขึ้นได้ (Potential) ครอบคลุมผู้มีส่วนได้เสียตลอดห่วงโซ่คุณค่า โดยมุ่งเน้นการดำเนินงานในเชิงรุกเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการละเมิดสิทธิมนุษยชน เพื่อใช้เป็นแนวทางการดำเนินงานอย่างเป็นรูปธรรมที่ครอบคลุมผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม ดังรูป

  • 100% บริษัทย่อยของ SCGP ประเมินความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชน
  • 100% คู่ธุรกิจที่มีมูลค่าการจัดหามากกว่า 1 ล้านบาทผ่านการประเมินด้านความยั่งยืน (ESG Risk)
  • 100% ผู้ร่วมธุรกิจที่ SCGP ถือหุ้น > 10% ประเมินความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชน
No ประเด็นความเสี่ยง
1 การละเมิดสิทธิในการถือครองที่ดินหรือการบังคับย้ายถิ่นที่อยู่
2 การละเมิดสิทธิชนเผ่าพื้นเมือง
3 ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัยรอบพื้นที่ดำเนินกิจกรรมทางธุรกิจ
4 การรักษาความปลอดภัยในพื้นที่และรอบพื้นที่ดำเนินงาน
5 การทุจริต/การคอร์รัปชัน
6 ฝุ่นและมลพิษทางอากาศ
7 การละเมิดสิทธินักปกป้องสิทธิมนุษยชน
8 การละเมิดสิทธิความเป็นส่วนตัวและสิทธิของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล
9 ความปลอดภัยของผู้บริโภคและลูกค้า
10 การเข้าถึงการเยียวยา
11 การใช้วัตถุดิบจากพื้นที่ความขัดแย้ง
12 การจัดการของเสีย และขยะมีพิษ
No ประเด็นความเสี่ยง
13 การคุ้มครองสิทธิแรงงาน
14 สภาพการจ้างงาน
15 ความปลอดภัยและอาชีวอนามัย
16 การใช้แรงงานเด็ก
17 การใช้แรงงานบังคับ
18 การเลือกปฏิบัติบนพื้นฐานทางเพศ
19 การเลือกปฏิบัติ (บนพื้นฐานอื่นที่ไม่ใช่เพศ)
20 เสรีภาพในการรวมตัว
21 การปิดกั้นเสรีภาพในการแสดงออก
22 การคุ้มครองสิทธิแรงงานข้ามชาติ
23 การล่วงละเมิดทางเพศในที่ทำงาน

ความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนที่สำคัญในปี 2565

ความเสี่ยงที่ SCGP มีสิทธิในการบริหารจัดการ

ความเสี่ยงของคู่ค้าและคู่ธุรกิจ

No ประเด็นความเสี่ยง
1 การละเมิดสิทธิในการถือครองที่ดินหรือการบังคับย้ายถิ่นที่อยู่
2 การละเมิดสิทธิชนเผ่าพื้นเมือง
3 ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัยรอบพื้นที่ดำเนินกิจกรรมทางธุรกิจ
4 การรักษาความปลอดภัยในพื้นที่และรอบพื้นที่ดำเนินงาน
5 การทุจริต/การคอร์รัปชัน
6 ฝุ่นและมลพิษทางอากาศ
7 การละเมิดสิทธินักปกป้องสิทธิมนุษยชน
8 การละเมิดสิทธิความเป็นส่วนตัวและสิทธิของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล
9 ความปลอดภัยของผู้บริโภคและลูกค้า
10 การเข้าถึงการเยียวยา
11 การใช้วัตถุดิบจากพื้นที่ความขัดแย้ง
12 การจัดการของเสีย และขยะมีพิษ
No ประเด็นความเสี่ยง
13 การคุ้มครองสิทธิแรงงาน
14 สภาพการจ้างงาน
15 ความปลอดภัยและอาชีวอนามัย
16 การใช้แรงงานเด็ก
17 การใช้แรงงานบังคับ
18 การเลือกปฏิบัติบนพื้นฐานทางเพศ
19 การเลือกปฏิบัติ (บนพื้นฐานอื่นที่ไม่ใช่เพศ)
20 เสรีภาพในการรวมตัว
21 การปิดกั้นเสรีภาพในการแสดงออก
22 การคุ้มครองสิทธิแรงงานข้ามชาติ
23 การล่วงละเมิดทางเพศในที่ทำงาน

ประเด็นด้านสิทธิมนุุษยชนที่ประเมินความเสี่ยงอยู่ในระดับสููง มี 4 ประเด็น คือ

  1. สภาพการจ้างงาน
  2. ความปลอดภัยและชีวอนามััย
  3. การใช้แรงงานบังคับ
  4. การคุ้มครองสิทธิแรงงานข้ามชาติ

โดย SCGP วางแผนและจัดทำแผนแก้ไข ป้องกัน รวมถึงกำหนดมาตรการเยียวยาผลกระทบอย่างครอบคลุุมและครบถ้วน

ประเด็นสิทธิมนุษยชนที่สำคัญ

ขอบเขต ประเด็นสิทธิมนุษยชนที่สำคัญ กลุ่มบุคคลที่ได้รับผลกระทบ และจำนวนบริษัท แนวทางการป้องกันและแก้ไข การตรวจสอบติดตามผล
การดำเนินงานที่ SCGP มีสิทธิบริหารจัดการ สุขภาพและความปลอดภัย พนักงานของ SCGP และบริษัทย่อย (78 บริษัท)
  • สื่อสาร ให้ความรู้ สร้างจิตสำนึกและวัฒนธรรมด้านความปลอดภัยผ่านระบบการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย หรือ SCG Safety Framework ทั้งในและต่างประเทศ
  • สื่อสาร ให้ความรู้ และตรวจสอบการปฏิบัติตามมาตรฐานงานที่มีความเสี่ยงสูง และการฝ่าฝืนกฎพิทักษ์ชีวิตอย่างต่อเนื่องทั้งในกระบวนการผลิต งาน Service Solutions สำนักงาน การเดินทาง และการขนส่ง
  • ส่งเสริมการสอบสวนและวิเคราะห์อุบัติการณ์ เพื่อทราบถึงสาเหตุหลัก และกำหนดมาตรการแก้ไข ป้องกันมิให้เกิดซ้ำ
  • ลดความเสี่ยงจากการทำงานโดยการนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้ในการพัฒนาความปลอดภัยทั้งที่เกี่ยวข้องกับพื้นที่ปฏิบัติงานและการขนส่ง อาทิ Advanced Driving Assistance System (ADAS), Driver Monitoring System (DMS) รวมถึงพัฒนา Platform การปฏิบัติงาน (SAFEsave) ในการเก็บข้อมูลการตรวจสอบความปลอดภัยในพื้นที่ปฏิบัติงาน และรายงานอุบัติเหตุเล็กน้อยหรือเหตุการณ์เกือบเกิดอุบัติเหตุ (Near miss)
  • 62% ของโรงงาน/บริษัทย่อยที่อยู่ในขอบข่ายการประเมิน SPAP ผ่านการตรวจประเมินในระดับที่สูงกว่าระดับมาตรฐาน
  • 0 บริษัทย่อยที่เกิดการบาดเจ็บหรือโรคจากการทำงานถึงขั้นเสียชีวิต
  • 8 บริษัทย่อยที่เกิดการบาดเจ็บหรือโรคจากการทำงานถึงขั้นสูญเสียวันทำงาน
สิทธิแรงงานข้ามชาติ พนักงานของ SCGP และบริษัทย่อย (78 บริษัท)
  • สื่อสาร ให้ความรู้ และสร้างจิตสำนึกด้านความปลอดภัยรวมถึงสวัสดิการที่แรงงานข้ามชาติพึงได้รับ
  • ตรวจประเมินตามข้อกำหนดของ The Sedex Members Ethical Trade Audit (SEDEX) ใน 4 ด้าน ได้แก่ มาตรฐานแรงงาน สุขภาพและความปลอดภัย จริยธรรมทางธุรกิจ และสิ่งแวดล้อม
  • 13 บริษัทย่อยผ่านการตรวจประเมิน
การดำเนินงานของคู่ค้าและคู่ธุรกิจ สุขภาพและความปลอดภัย คู่ธุรกิจของ SCGP (2,072 บริษัท)
  • พัฒนาระบบการบริหารความปลอดภัยคู่ธุรกิจ (Contractors Safety Management) และมาตรฐานความปลอดภัยสำหรับงาน Service Solutions ให้ครอบคลุมตั้งแต่การวางแผนด้านความปลอดภัย การคัดเลือกคู่ธุรกิจ และทำสัญญา การเตรียมความพร้อม ตรวจสอบ และควบคุมคู่ธุรกิจตั้งแต่ก่อนเริ่มทำงาน ระหว่างและหลังการปฏิบัติงาน รวมถึงกำหนดให้มีการตรวจประเมินเป็นระยะ
  • กำหนดมาตรฐานการขนส่งอย่างปลอดภัย ควบคุม ตรวจประเมินคู่ธุรกิจขนส่ง ให้ปฏิบัติตามกฎระเบียบและมาตรฐานการทำงาน
  • ส่งเสริมให้คู่ธุรกิจขนส่งปฏิบัติตามกฎหมาย ติดตาม ตรวจสอบการทำงานของพนักงานขับรถอย่างต่อเนื่อง ผ่านระบบ GPS และ In-Cab Camera
  • ทบทวนแนวทางการตรวจประเมินคู่ธุรกิจขนส่ง เพื่อยกระดับความปลอดภัยและส่งเสริมความเป็นมืออาชีพในการขนส่ง
  • ส่งเสริมการสอบสวนและวิเคราะห์อุบัติการณ์ เพื่อทราบถึงสาเหตุหลักและกำหนดมาตรการแก้ไข ป้องกันมิให้เกิดซ้ำ
  • 97% คู่ธุรกิจในกระบวนการผลิตผ่านการตรวจประเมิน SCG Contractor Safety Certification (SCS)
  • 100% คู่ธุรกิจขนส่งประจำได้รับการตรวจประเมินและ 53% ผ่านเกณฑ์การตรวจประเมิน
  • 0 บริษัทคู่ธุรกิจที่เกิดการบาดเจ็บจากการทำงานถึงขั้นเสียชีวิต
  • 0 บริษัทคู่ธุรกิจที่เกิดการบาดเจ็บจากการทำงานถึงขั้นสูญเสียวันทำงาน
สภาพการจ้างงาน คู่ธุรกิจของ SCGP (2,072 บริษัท)
  • ทบทวนจรรยาบรรณคู่ธุรกิจ และสื่อสาร ให้ความรู้เพื่อแสดงความมุ่งมั่นร่วมกับคู่ธุรกิจ/คู่ค้า ในกิจกรรม Supplier Day
  • กำกับดูแลให้คู่ธุรกิจรายใหม่ และคู่ธุรกิจหลักแสดงความมุ่งมั่นปฏิบัติตามจรรยาบรรณคู่ธุรกิจอย่างต่อเนื่อง
  • ดำเนินการประเมินความเสี่ยงด้านความยั่งยืนของคู่ธุรกิจ (ESG Risk) ที่ครอบคลุมการประเมินด้านสิทธิมนุษยชน
  • ส่งเสริมและให้คำแนะนำคู่ธุรกิจ/คู่ค้า ให้ดำเนินธุรกิจที่คำนึงถึงประเด็นด้านสิทธิมนุษยชน
  • 90% คู่ธุรกิจตามมูลค่าการจัดหาแสดงความมุ่งมั่นปฏิบัติตามจรรยาบรรณคู่ธุรกิจของเอสซีจี
  • 100% คู่ธุรกิจที่มีมูลค่าการจัดหามากกว่า 1 ล้านบาทผ่านการประเมินด้านความยั่งยืน (ESG Risk)
การใช้แรงงานบังคับ
สิทธิแรงงานข้ามชาติ
การดำเนินงานของกิจการร่วมทุน สุขภาพและความปลอดภัย บริษัทร่วมทุนของ SCGP (6 บริษัท)
  • สื่อสาร แลกเปลี่ยนแนวทางการดำเนินงานที่เป็นตัวอย่างที่ดีเพื่อขยายผลและส่งเสริมการดำเนินงานให้เข้มแข็งยิ่งขึ้น
  • เผยแพร่มาตรฐานงานที่มีความเสี่ยงสูงทั้งในกระบวนการผลิตสำนักงาน การเดินทาง และการขนส่ง และกฎพิทักษ์ชีวิตให้ทราบถึงแนวทางการปฏิบัติงานที่ยอมรับได้
  • 0 บริษัทร่วมทุนที่เกิดการบาดเจ็บจากการทำงานถึงขั้นเสียชีวิต
  • การเยียวยา (Remedy): มีช่องทางให้ผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่มสามารถร้องเรียน และแจ้งเบาะแสการปฏิบัติที่ไม่เป็นไปตามหลักบรรษัทภิบาล คู่มือจรรยาบรรณ ระเบียบ ข้อบังคับ กฎหมายและนโยบายต่อต้านคอร์รัปชัน รวมถึงการกระทำทุจริต โดยจัดการกับข้อร้องเรียนอย่างมีประสิทธิผล และการกำหนดมาตรการบรรเทาแก้ไขผลกระทบที่เกิดขึ้น รวมถึงมาตรการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างเป็นธรรม ผ่านระบบรับข้อร้องเรียน โดยข้อร้องเรียนที่ได้รับจะมีการตั้งคณะกรรมการพิจารณาข้อเท็จจริงและสอบสวน เพื่อสรุปความผิด อนุมัติการลงโทษและกำหนดมาตรการเยียวยาผลกระทบต่อไป

การกำกับดูแลด้านสิทธิมนุษยชน

อุดมการณ์เอสซีจี
  • ตั้งมั่นในความเป็นธรรม
  • มุ่งมั่นในความเป็นเลิศ
  • เชื่อมั่นในคุณค่าของคน
  • ถือมั่นในความรับผิดชอบต่อสังคม
จรรยาบรรณเอสซีจีพี
  • สิทธิมนุษยชนและแรงงาน
  • สิ่งแวดล้อม
  • สุขภาพและความปลอดภัย
  • การต่อต้านคอร์รัปชัน
จรรยาบรรณคู่ธุรกิจ
  • จริยธรรมทางธุรกิจ
  • แรงงานเละสิทธิมนุษยชน
  • อาชีวอนามัยและความปลอดภัย
  • สิ่งแวดล้อม
นโยบายสิทธิมนุษยชน
  • หลีกเลี่ยงการกระทำที่ถือเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน
  • สนับสนุนการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน
  • สื่อสาร เผยแพร่ ให้ความรู้ สร้างความเข้าใจแก่ผู้มีส่วนได้เสีย ในห่วงโซ่คุณค่าของธุรกิจ
นโยบายด้านการบริหารความหลากหลายและยอมรับความแตกต่างของบุคคล
  • ปฏิบัติต่อทุกคนตามหลักสิทธิมนุษยชนอย่างเท่าเทียมกันโดยไม่เลือกปฏิบัติ
  • หลีกเลี่ยงการกระทำที่ถือเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน
  • สนับสนุนการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน
นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
  • ปกป้องข้อมูลส่วนบุคคลสำหรับผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม
การดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชน

พนักงาน (Employees)

มีการสื่อสารความรู้ด้านสิทธิมนุษยชน (Basic knowledge) ให้พนักงานทุกระดับมีความรู้ ความเข้าใจและเกิดความตระหนักด้านสิทธิมนุษยชนมากยิ่งขึ้น ผ่านหลายช่องทาง เช่น E-Mail, One page, Signage, VDO เป็นต้น

คู่ค้า / คู่ธุรกิจ (Suppliers / Contractors)

SCGP จัดซื้อจัดจ้างคู่ธุรกิจที่มีจริยธรรมในการดำเนินธุรกิจ มีความเป็นมืออาชีพในการส่งมอบสินค้าและบริการที่มีคุณภาพ โดยวางแผนพัฒนาคู่ธุรกิจให้สอดคล้องกับความเสี่ยงของคู่ธุรกิจ ทั้งด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และการกำกับดูแล (ESG) โดยมีการดำเนินงานที่สำคัญ ดังนี้

  • มีการตรวจประเมินความเสี่ยงและให้การรับรองคู่ธุรกิจทุกรายเป็นประจำอย่างต่อเนื่องทุกปี โดยใช้กรอบการบริหารความเสี่ยงทั่วทั้งองค์กรและดำเนินการตาม “กรอบการดำเนินงานด้านการจัดหาอย่างยั่งยืน SCGP” ซึ่งครอบคลุมด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และการกำกับดูแล (ESG)

SCGP Sustainable Procurement Framework

  • 100% คู่ธุรกิจที่มีมูลค่าการจัดหามากกว่า 1 ล้านบาทผ่านการประเมินด้านความยั่งยืน (ESG Risk)
  • 90% คู่ธุรกิจตามมูลค่าการจัดหาแสดงความมุ่งมั่นปฏิบัติตามจรรยาบรรณคู่ธุรกิจ SCGP
  • 100% คู่ธุรกิจขนส่งประจำได้รับการตรวจประเมินความปลอดภัย
  • จัดทำแผนพัฒนาและยกระดับประสิทธิภาพการดำเนินงานของคู่ธุรกิจด้านความยั่งยืน ซึ่งครอบคลุมด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และการกำกับดูแล (ESG) อย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ เช่น Contractor Safety Management

ผู้ร่วมธุรกิจ (Joint Ventures)

SCGP มุ่งหวังและส่งเสริมให้ผู้ร่วมธุรกิจ (Joint Ventures) ที่เอสซีจีไม่มีอำนาจในการบริหาร เช่น บริษัทร่วมและบริษัทที่เอสซีจีร่วมลงทุน รวมถึงคู่ค้า (Suppliers) คู่ธุรกิจ (Contractors) และผู้เกี่ยวข้องอื่นๆ สนับสนุนและเน้นย้ำถึงความสำคัญของความมุ่งมั่นต่อสิทธิมนุษยชน โดยมีการดำเนินงานที่สำคัญ ดังนี้

  • ทบทวน Expectation letter และสื่อสารไปยังบริษัทผู้ร่วมธุรกิจ (Joint Ventures) เพื่อส่งเสริมและทำความเข้าใจร่วมกันถึงการดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชนที่เอสซีจีคาดหวัง
  • จัดทำแบบสอบถามด้านสิทธิมนุษยชนที่ครอบคลุมทั้งการปฏิบัติตามนโยบาย การประเมินความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนและผลการดำเนินงานที่สำคัญเป็นประจำทุกปี เพื่อทราบถึงสถานะการดำเนินงานในปัจจุบันและวางแผนร่วมกันในการให้การสนับสนุนการดำเนินงานจากเอสซีจี
  • 100% ผู้ร่วมธุรกิจที่ SCGP ถือหุ้น > 10% ประเมินความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชน

ชุมชน (Communities)

SCGP ถือเป็นความรับผิดชอบขององค์กรในการสร้างธุรกิจให้เติบโตควบคู่กับการพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อมตามแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืน ขับเคลื่อนธุรกิจด้วย ESG โดยพัฒนาแนวทาง ESG 4 Plus “มุ่ง Net Zero-Go Green-Lean เหลื่อมล้ำ-ย้ำร่วมมือ” ภายใต้ความเป็นธรรม โปร่งใส ตรวจสอบได้ ด้วยการมุ่งเน้นจัดการปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อการดำรงชีพและคุณภาพชีวิตของผู้คน ด้วยการมีส่วนร่วมช่วยเหลือเสริมทักษะ สร้างอาชีพ อันจะนำมาสู่การสร้างรายได้ ช่วยลดความเหลื่อมล้ำ ปัญหาสำคัญในสังคมให้ได้อย่างยั่งยืน

ลดเหลื่อมล้ำด้วยพลังชุมชน

ความเหลื่อมล้ำและความยากจนเป็นปัญหาที่ขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างมากในสังคมไทย ด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด 19 ที่ยังทวีความรุนแรงต่อเนื่อง ส่งผลกระทบต่อการประกอบอาชีพและการดำรงชีวิตของผู้คนจำนวนมาก

SCGP ลดความเหลื่อมล้ำสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนด้วยโครงการ “พลังชุมชน” อบรมเสริมความรู้คู่คุณธรรม สร้างแรงบันดาลใจให้ชุมชนลุกขึ้นมาพัฒนาตนเอง ต่อยอดแปรรูปผลิตภัณฑ์ให้มีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้น มีเอกลักษณ์โดดเด่นเป็นสินค้าประจำท้องถิ่น เรียนรู้หลักการตลาด การค้าขาย การสร้างแบรนด์สินค้า และขยายช่องทางการขายผ่านออนไลน์ รวมถึงการวางแผนชีวิตเพื่อความยั่งยืน โดย SCGP ยังคงดำเนินการขยายผลโครงการอย่างต่อเนื่อง เพราะความเหลื่อมล้ำ ยากจน ยังคงมีอยู่ในอีกหลายพื้นที่

SCGP มุ่งมั่นในการบริหารความหลากหลายและยอมรับความแตกต่างของบุคคล โดยผนวกเป็นส่วนหนึ่งในวัฒนธรรมทั่วทั้งองค์กร และบูรณาการเข้ากับกลยุทธ์ในการดำเนินธุรกิจอย่างเหมาะสม ในปี 2563 SCGP ได้ประกาศนโยบายด้านการบริหารความหลากหลายและยอมรับความแตกต่างของบุคคล และมีการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน

  • บริหารความเท่าเทียมและความเป็นธรรมของพนักงานที่มีความหลากหลายในทุกที่ที่ดำเนินกิจกรรมทางธุรกิจ รวมถึงคู่ค้าและกิจการร่วมทุน โดยการปฏิบัติตามหลักสิทธิมนุษยชน
  • ปฏิบัติต่อพนักงานทุกคนอย่างเท่าเทียม ให้ความเคารพในความหลากหลายและยอมรับในความแตกต่างของบุคคลทั่วทั้งองค์กร ปฏิบัติต่อกันด้วยความไว้วางใจ บริหารงานด้วยความโปร่งใสและยึดมั่นต่ออุดมการณ์ในการดำเนินธุรกิจอย่างมีคุณธรรม โดยให้ความสำคัญกับความหลากหลายของพนักงานในทุกด้าน เช่น กำหนดแนวคิดในการเพิ่มสัดส่วนเพศหญิงในพนักงานระดับผู้บริหาร การดูแลพนักงานที่เป็น Mid-career การส่งเสริมให้ริเริ่มธุรกิจใหม่ (Start-up Model) สำหรับคนรุ่นใหม่ รวมถึงพัฒนานโยบายในการเปิดรับกลุ่ม LGBTQI+
  • เคารพในความหลากหลายและยอมรับความแตกต่างของบุคคล ไม่มีการเลือกปฏิบัติต่อเพศ อายุ สภาพร่างกาย ความทุพพลภาพ สัญชาติ ศาสนา วัฒนธรรม และความหลากหลายของพนักงานอื่นใดที่นอกเหนือไปจากการปฏิบัติตามกฎหมาย
  • การบริหารทรัพยากรบุคคลของ SCGP ในด้านการจ้างงาน ค่าตอบแทน การพัฒนาความรู้ ความสามารถ การเลื่อนตำแหน่ง การโอนย้ายและการว่าจ้างพนักงานที่มีประสบการณ์ในการทำงาน การฝึกอบรมและการให้คำแนะนำ เป็นต้น ได้ยึดหลักความเป็นธรรมและความเสมอภาค เช่น การว่าจ้างคนพิการและสนับสนุนกิจกรรมที่ส่งเสริมคุณภาพชีวิต ส่งเสริมให้พนักงานหญิงมีความเท่าเทียมในการเติบโตของสายงาน ตลอดจนการได้รับสวัสดิการและค่าตอบแทนต่างๆ
  • มีความคิดริเริ่มและดำเนินการเพื่อสนับสนุนความหลากหลายของพนักงาน เช่น ขยายโครงการพัฒนาความรู้ ความสามารถให้กับพนักงานในต่างประเทศ โดยให้โอกาสในการเรียนรู้และเข้าร่วมหลักสูตรสำคัญ (Flagship Programs) เช่น Business Concept Development (BCD), Management Development Program (MDP) นอกจากนี้ SCGP ยังมีการสนับสนุนและดูแลพนักงานหญิง โดยกำหนดเป้าหมายสัดส่วนพนักงานผู้หญิงในระดับจัดการเป็น 24% ในปี 2568
  • จัดงาน Broadcast Live ใน Theme: Woman in leadership inspiration talk เพื่อให้เกิดความตระหนักในเรื่องของการไม่เลือกปฏิบัติและการล่วงละเมิด (ทั้งการล่วงละเมิดทางเพศและการล่วงละเมิดในรูปแบบอื่นใด) และสร้างแรงจูงใจของพนักงานทั่วทั้งองค์กร ให้เห็นคุณค่าของความหลากหลายของพนักงาน

ตั้้งแต่ปี 2562 บริษัทย่อยใน SCGP ได้ดำเนินการตามมาตรฐานของ SEDEX ในการปฏิบัติต่อพนักงานและแรงงานอย่างมีจริยธรรมทั้งระบบ ไม่เพียงแค่เฉพาะภายในบริษัทฯ หากแต่มองรวมไปถึงตลอดห่วงโซ่คุุณค่า ในปี 2565 บริษัทได้ดำเนินการตามข้อกำหนด SEDEX และผ่านการตรวจประเมินจากผู้ตรวจประเมินภายนอกจนได้รับการยอมรับให้เข้าร่วมเป็นสมาชิกของ SEDEX รวมทั้งหมด 13 บริษัท ซึ่งแสดงถึงความมุ่งมั่นของเอสซีจีในการดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชนมาอย่างต่อเนื่อง ตามระบบการบริหารจัดการอย่างมีจริยธรรมต่อพนักงานและแรงงานตามข้อกำหนดของ SEDEX ใน 4 ด้านหลัก ได้แก่ มาตรฐานแรงงาน สุขภาพและความปลอดภัย จริยธรรมทางธุรกิจและสิ่งแวดล้อม ครอบคลุมทั้้งภายในบริษัทของตนเองและคู่ธุรกิจ

เป้าหมาย

1
เป็นองค์กรต้นแบบด้านสิทธิมนุษยชนทั้งทางตรงจากการดำเนินงานในกิจกรรมทางธุรกิจของ SCGP และทางอ้อมโดยการสนับสนุนและส่งเสริมคู่ธุรกิจในห่วงโซ่คุณค่าทางธุรกิจ และกิจการร่วมทุนให้ตระหนัก คุ้มครอง และเคารพต่อสิทธิมนุษยชนในการดำเนินธุรกิจ
2
จำนวนการละเมิดสิทธิมนุษยชนเป็น 0
3
จำนวนพนักงานผ่านการทดสอบและเรียนรู้ด้านจริยธรรมและสิทธิมนุษยชน ผ่าน Ethics e-Testing ร้อยละ 100
4
สัดส่วนพนักงานหญิงในระดับจัดการเป็น ร้อยละ 24 ในปี 2568

ผลดำเนินงานปี 2566

1

จำนวนการละเมิดสิทธิมนุษยชน

ร้อยละ 100

จำนวนพนักงานผ่านการทดสอบและเรียนรู้ด้านจริยธรรมและสิทธิมนุษยชน ผ่าน Ethics e-Testing

ร้อยละ 23.8

สัดส่วนพนักงานหญิงในระดับจัดการ

จำนวน 67 คน

ส่งเสริมการจ้างงานคนพิการและประกอบอาชีพ

สัดส่วนพนักงานหญิง

23.8%

สัดส่วนพนักงานหญิงในพนักงานทั้งหมด (%)

23.8%

สัดส่วนพนักงานหญิงในระดับจัดการ (Management) (%)

24.8%

สัดส่วนพนักงานหญิงในระดับจัดการ ระดับต้น (Junior Management) (%)

14.0%

สัดส่วนพนักงานหญิงในระดับจัดการ ระดับสูง (Top Management) (%)

18.8%

สัดส่วนพนักงานหญิงในระดับจัดการ ในหน่วยงานที่สร้างรายได้ (%)

53.8%

สัดส่วนพนักงานหญิงในระดับจัดการในหน่วยงาน ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (%)
กระบวนการจัดการด้านสิทธิมนุษยชน
ระบุประเด็นความเสี่ยงด้าน
สิทธิมนุษยชน
ระบุกลุ่มผู้ได้รับผลกระทบ
วางแผนป้องกันและจัดทำแผนแก้ไขรวมถึงกำหนดมาตรการเพื่อบรรเทาเยียวยาความเสียหาย
ตรวจสอบ
ติดตามผล
  • แรงงานบังคับ
  • การค้ามนุษย์
  • แรงงานเด็ก
  • เสรีภาพในการสมาคม
  • สิทธิในการร่วมเจรจาต่อรอง
  • การจ่ายค่าตอบแทนอย่างเป็นธรรม
  • การเลือกปฏิบัติ
  • พนักงานบริษัท
  • ผู้หญิง
  • เด็ก
  • ชนพื้นเมือง
  • แรงงานอพยพ
  • แรงงานบุคคลที่ 3
  • ชุมชนท้องถิ่น
  • การสร้างการมีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้เสีย
  • ระบบรับข้อร้องเรียนและแจ้งเบาะแส (Whistleblowing System)
  • Ethics e-Testing
  • การสำรวจความผูกพัน
  • การปฏิบัติตาม GRC (Governance Risk and Compliance)