หลักเศรษฐกิจหมุนเวียน

SCGP ผลักดันหลักเศรษฐกิจหมุนเวียนเป็นแนวทางสำคัญในการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมของประเทศและของโลก ทั้งปัญหาภาวะโลกร้อน การขาดแคลนทรัพยากร วิกฤตขยะ ความยากจนและคุณภาพชีวิต โดยนำหลักเศรษฐกิจหมุน เวียนมาใช้บริหารจัดการให้เกิดการหมุนเวียนทรัพยากรและพลังงานในระบบอย่างคุ้มค่า และเกิดประโยชน์สูงสุด ตั้งแต่ การวางแผนและออกแบบการเลือกใช้วัสดุ การผลิต การบริโภค การจัดการของเสียและนำกลับมาเป็นวัตถุดิบใหม่ในกระบวนการผลิต

กลยุทธ์
1
การพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการแบบเศรษฐกิจหมุนเวียนเพื่อสร้างและรักษาคุณค่าหลักของวัสดุสูงสุด
2
ส่งเสริมการใช้วัสดุชีวภาพหรือวัสดุทดแทนที่สามารถนำกลับมารีไซเคิลได้
3
วิจัยและพัฒนานวัตกรรมเพื่อยืดอายุสินค้าและส่วนประกอบ
4
ใช้แพลตฟอร์มการแบ่งปัน (Sharing Platform) เพื่อใช้ทรัพยากรให้คุ้มค่าที่สุด
5
ร่วมมือ กับ ลูกค้า พันธมิตรธุรกิจ ตลอดห่วงโซ่อุปทานในการบริหารทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ
6
รวบรวมและจัดการของเสีย เพื่อนำกลับไปใช้ใหม่
7
ปรับเปลี่ยนสร้างธุรกิจตามแนวคิดทำสินค้าให้เป็นบริการ (Product as a Service)
8
เข้าร่วมเป็นสมาชิก เครือข่่าย องค์กรระดับประเทศและนานาชาติ เพื่อผลักดันการดำเนินงานให้บรรลุเป้าหมายร่วม ตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน
9
ช่วยรวบรวมและจัดการของเสียและบรรจุภัณฑ์ที่ยากต่อการรีไซเคิล เพื่อส่งเสริมสังคมเศรษฐกิจหมุนเวียน
ห่วงโซ่คุณค่าแห่งการหมุนเวียน

อ้างอิงจาก CEO GUIDE TO THE CIRCULAR ECONOMY, WBCSD

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ
เป้าหมาย

SCGP มุ่งมั่นที่จะออกแบบบรรจุภัณฑ์ โดยร่วมสร้างสรรค์กับลูกค้า เพื่อมุ่งสู่บรรจุภัณฑ์ทั้งหมด

100% ที่สามารถใช้ซ้ำ นำกลับมาใช้ใหม่ หรือสลายตัวได้ ภายในปี 2573

ผลการดำเนินงานปี 2566

สัดส่วนปริมาณบรรจุุภัณฑ์ที่สามารถรีไซเคิลได้ ใช้ซ้ำได้ หรือสลายตัวได้

99.7% ของปริมาณบรรจุภัณฑ์ทั้งหมด

ความต้องการกระดาษรีไซเคิลของ SCGP เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องตามแผนการผลิตกระดาษ ซึ่งส่งผลให้ปริมาณเป้าหมายการนำเศษกระดาษกลับมาใช้ในการผลิตเพิ่มขึ้นตามไปด้วย จากรายงานประจำปี อัตราส่วนวัตถุดิบในการผลิตต่อจำนวนการผลิตรวม อยู่ที่ประมาณ 0.81

วัตถุดิบที่ใช้ในบรรจุภัณฑ์จากเยื่อและกระดาษของ SCGP ทำมาจาก เยื่อกระดาษ, กระดาษรีไซเคิล และเส้นใยธรรมชาติอื่นๆ โดยวัตถุดิบเหล่านี้ได้ถูกแปรสภาพเป็นผลิตภัณฑ์บรรจุภัณฑ์กระดาษประเภทต่างๆ เช่น กล่องกระดาษ, ถุงกระดาษ และ ผลิตภัณฑ์กระดาษต่างๆ โดยในปี 2566 SCGP ใช้วัตถุดิบทั้งหมด 6,766,602 ตันสำหรับการผลิต ผลิตภัณฑ์บรรจุภัณฑ์จากเยื่อและกระดาษ

วัตถุดิบรวมของบรรจุภัณฑ์จากวัสดุสมรรถนะสูงหมายถึง จำนวนวัสดุโดยรวมที่ใช้ในการผลิตบรรจุภัณฑ์พลาสติกประเภทต่างๆ เช่น บรรจุภัณฑ์พลาสติกแบบอ่อนตัว, บรรจุภัณฑ์พลาสติกแบบแข็งตัว และบรรจุภัณฑ์พลาสติกประสิทธิภาพสูง โดยในปี 2566 ปริมาณการใช้วัตถุดิบพลาสติกเพื่อผลิตบรรจุภัณฑ์จากวัสดุสมรรถนะสูงทั้งหมด เพิ่มขึ้นเป็น 59,013 ตัน

วัตถุดิบส่วนใหญ่ของ SCGP มาจากเยื่อและกระดาษซึ่งสามารถนำมารีไซเคิลและหมุนเวียนได้ โดยเยื่อกระดาษรีไซเคิล คือ กระดาษที่ผ่านการใช้งานแล้ว โดยผ่านกระบวนการทำความสะอาดด้วยกระบวนการทางกลและ/หรือทางเคมี ในส่วนเม็ดพลาสติกรีไซเคิลนั้น มาได้จาก 2 แหล่ง ได้แก่ เม็ดพลาสติกรีไซเคิลที่เหลือทิ้งหรือสูญเสียระหว่างกระบวนการผลิตในภาคอุตสาหกรรม (PIR) และ เม็ดพลาสติกรีไซเคิลที่ผ่านการใช้งานโดยผู้บริโภคมาแล้ว (PCR)

แนวทางนี้ช่วยลดการพึ่งพาวัตถุดิบใหม่และวัสดุไม่หมุนเวียน โดยส่งเสริมความยั่งยืน อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ลดการใช้พลังงาน และลดของเสียและการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

ในปี 2566 สัดส่วนของวัสดุรีไซเคิลสูงถึง 55.4% เปอร์เซ็นต์ ในส่วนของวัสดุรีไซเคิลและวัสดุหมุนเวียนได้ รวมกันได้ 99.1% ในปี 2566 เนื่องมาจากวัสดุเยื่อและกระดาษเป็นสัดส่วนหลักของการผลิต

SCGP ใช้วัสดุเยื่อกระดาษหลัก 2 ประเภทในการดำเนินงาน โดยในปี 2566 มีการใช้เยื่อกระดาษรีไซเคิลคิดเป็นประมาณ 56% ของเยื่อและวัสดุกระดาษที่ใช้ ในขณะที่เยื่อกระดาษบริสุทธิ์คิดเป็นประมาณ 44% ของทั้งหมด ซึ่งเยื่อบริสุทธิ์ที่ SCGP ใช้นั้น ได้รับการรับรองมาตรฐาน FSC (Forest Stewardship Council) เพื่อให้มั่นใจว่าเยื่อกระดาษบริสุทธิ์ทั้งหมดที่ใช้ในกระบวนการนั้นได้มาจากแหล่งกำเนิดที่ได้รับการรับรองว่าปราศจากการตัดไม้ทำลายป่า
ธุรกิจบรรจุภัณฑ์จากวัสดุสมรรถนะสูงใช้วัตถุดิบพลาสติกจากสองแหล่ง ได้แก่ เม็ดพลาสติกบริสุทธิ์ และ เม็ดพลาสติกรีไซเคิล โดยในปี 2566 มีปริมาณการใช้พลาสติกบริสุทธิ์คิดเป็นประมาณ 99.2% ของวัสดุพลาสติกที่ใช้ อย่างไรก็ตาม การใช้เม็ดพลาสติกรีไซเคิลโดยการใช้ Post-Consumer Recycled (PCR) และ Post-Industrial Recycled (PIR) คิดเป็นประมาณ 0.8% ของปริมาณทั้งหมด แม้จะมีเปอร์เซ็นต์ค่อนข้างน้อย แต่ SCGP มุ่งมั่นที่จะสร้างความยั่งยืนมากขึ้น โดยการนำเม็ดพลาสติกรีไซเคิลมาใช้ในกระบวนการผลิตมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง
กิจกรรมที่สำคัญ
เศรษฐกิจหมุนเวียน
POST-INDUSTRIAL RECYCLED WASTE (PIR WASTE)
Post-Industrial Recycled Waste (PIR Waste) นำวัสดุเหลือใช้จากกระบวนการผลิต เช่น เศษบดตัดขอบ และแผ่นพลาสติกเหลือใช้จากการขึ้นรูป มาบดย่อย แปรรูป และนำมาใช้เป็นวัตถุดิบเสริมในการผลิตบรรจุภัณฑ์พอลิเมอร์ใหม่ เช่น แกลลอนน้ำมันเครื่อง และถ้วยบรรจุอาหารสำหรับกระบวนการฆ่าเชื้อแรงดันสูง (Thermoformed cup for retort process)

หมุนเวียนของเสียกลับมาเป็นวัตถุดิบ

หมุนเวียนของเสียกลับมาเป็นวัตถุดิบใช้ในการผลิตสินค้าใหม่ เช่น PCR นำเม็ดพลาสติกที่ผ่านการใช้งานจากผู้บริโภคมา ใช้เป็นวัตถุดิบเสริมในการผลิตบรรจุภัณฑ์พอลิเมอร์ ช่วยลดการใช้เม็ดพลาสติกใหม่ (virgin resin) เช่น ขวดแชมพู เป็นต้น

SCGP Recycle

โมเดลธุรกิจ SCGP Recycle เพื่อการจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ ใช้ทรัพยากรทั้งองค์ความรู้ ความเชี่ยวชาญ บุคคลากร และ Facility เพื่อให้การดำเนินโครงการเพื่อสังคม สามารถสร้างคุณค่ากลับมาให้ธุรกิจ โดยนำกระดาษเหลือใช้ที่จัดเก็บกลับสู่กระบวนการรีไซเคิล เพื่อนำมาเป็นวัตถุดิบในการผลิตใหม่ ส่งเสริมการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ ตอบสนองความต้องการของลูกค้าและสร้างคุณค่าร่วมกับชุมชน ด้วยความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมที่เป็นหัวใจสำคัญของ SCGP พร้อมสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับองค์กรและสังคม

นอกจากการรับวัสดุเหลือใช้จากองค์กรหรือหน่วยงานต่าง ๆ แล้ว SCGP Recycle ยังขยายพื้นที่ให้ผู้บริโภคสามารถเข้าถึงได้ง่าย ผ่านการร่วมมือกับพันธมิตร โดยนำขยะรีไซเคิลที่แยกประเภทเอาไว้ เช่น กระดาษประเภทต่าง ๆ ขวดน้ำพลาสติก และฟิล์มพลาสติก ไปให้ที่ Drop Point ใกล้บ้าน ในโครงการที่ SCGP Recycle ร่วมมือกับพันธมิตร เช่น ห้างสรรพสินค้า หมู่บ้านจัดสรร ปั๊มน้ำมัน และอาคารสำนักงาน เพื่อให้ทุกคนช่วยกันดูแลโลกได้อย่างไม่ลำบาก ด้วยระบบการจัดการที่มีประสิทธิภาพ สะดวก และเชื่อถือได้ของ SCGP Recycle ทำให้มั่นใจได้ว่าขยะรีไซเคิลถูกส่งกลับเข้าสู่วงจรไปใช้ประโยชน์ได้อย่างเต็มที่ ไม่ว่าจะถูกคืนชีพขึ้นมาใหม่ หรือเพิ่มคุณค่าไปเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ มากมาย ช่วยลดปริมาณขยะและงบประมาณในการจัดเก็บ ไม่ต้องนำขยะไปกำจัดด้วยการเผาหรือฝังกลบ ซึ่งมีส่วนในการเพิ่มมลพิษ และปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่เป็นสาเหตุของปัญหาโลกร้อน

สรุปผลการดำเนินงาน ปี พ.ศ. 2563-2566

  • จำนวนศูนย์รีไซเคิลกระดาษ 61 ศูนย์
  • จำนวนพันธมิตรที่ร่วมโครงการ 120 ราย
  • จำนวนจุดรับวัสดุเหลือใช้ 473 แห่ง
  • จำนวนกระดาษรีไซเคิลทั้งหมดที่จัดเก็บได้เฉลี่ย 1,160 ตันต่อปี
  • ลดการนำเข้าวัตถุดิบกระดาษรีไซเคิลจากต่างประเทศได้ 1,160 ตัน คิดเป็นมูลค่า 6,960,000 บาท เทียบเท่ากับการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก 7,504,296 กิโลกรัมคาร์บอนไดออกไซด์
ผลิตภัณฑ์ที่รีไซเคิลได้
ผลิตภัณฑ์ที่รีไซเคิลได้ เช่น บรรจุุภัณฑ์พอลิเมอร์แบบอ่อนตัว (Flexible Packaging) ที่ผลิตจากฟิล์มประกบหลายชั้น แต่ละชั้้นเป็นพอลิเมอร์ชนิดเดียวกัน (Multi-layer mono material) ด้วยเทคโนลียี R-1 และ R-1plus สามารถปกป้องสินค้า และทนแรงกระแทกสููง นำกลับมารีไซเคิลเป็นเม็ดพลาสติกและวัสดุุอื่น ๆ ได้อย่างมีคุณภาพ ช่วยให้เกิดการหมุุนเวียนวัตถุุดิบทดแทนกลับเข้าสู่ระบบ

Service Solutions

SCCP Recycle เป็นบริการ Solutions ที่ SCGP จัดเตรียมให้กับพันธมิตร เพื่อใช้เป็นช่องทางการติดต่อสื่อสารการรับบริการและรับทราบ ข้อมูลการคัดแยกวัสดุเหลือใช้เพื่อนํากลับมารีไซเคิลอย่างถูกวิธี ครบวงจร ตามแนวทางเศรษฐกิจหมุนเวียน เช่น กระดาษเหลือใช้ พลาสติกเหลือใช้ และวัสดุเหลือใช้อื่น ๆ ที่สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มได้เมื่อได้รับการจัดการอย่างถูกต้อง รวมทั้งมีบริการให้ข้อแนะนําแนวทางการพัฒนาปรับปรุงเพื่อเข้าใจถึงกระบวนการจัดการวัสดุเหลือใช้ได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ และมีการหมุนเวียนใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า

รวมถึงมีศักยภาพที่จะ SCGP Recycle ได้ประสานงานและร่วมมือกับพันธมิตร พัฒนาระบบ ECO ขยายองค์ความรู้ให้กับชุมชนอื่น ๆ โดยการเพิ่มช่องทางให้บริการแก่ผู้บริโภค จัดวางจุด Drop Point ในพื้นที่ต่างๆ เพิ่มความสะดวกให้ผู้บริโภคได้นําวัสดุเหลือใช้มาส่งเพื่อนํากลับไปรีไซเคิล โดยผ่าน Circular Campaign นําวัสดุเหลือใช้แลกเปลี่ยนกลับไปเป็นสินค้า เช่น กระดาษถ่ายเอกสาร A4 หรือ ชุดเฟอร์นิเจอร์กระดาษ มอบให้กับผู้เข้าร่วมโครงการ เพื่อส่งต่อไปยังสังคมหรือชุมชนต่อไป ซึ่งในปี 2564 SCGF Recycle ได้ร่วมมือกับพันธมิตรภาครัฐและภาคธุรกิจดำเนินการโครงการในลักษณะดังกล่าว เช่น โครงการไปรษณีย์ reBOX ครั้งที่ 2 เปลี่ยนกล่อง/ซอง ที่ไม่ใช้แล้วเป็นหน้ากากอนามัยทางการแพทย์ของ บริษัท ไปรษณีย์ไทย จํากัด ตั้งจุด Dpp Point ที่ปั้มน้ํามัน PT 5 สาขา รับกระดาษเหลือใช้และขวดน้ำรีไซเคิล ดําเนินการจัดการวัสดุเหลือใช้ หลังจากการจัดงาน ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค โครงการรีไซเคิลกระดาษของเครือโรงพยาบาลพญาไท โครงการ Paper Merci แยก แลก รักษ์ ของ บริษัท อาร์เอส จํากัด (มหาชน) โครงการห้องขยะรีไซเคิลที่ทําจากวัสดุรีไซเคิลของ CW Tower โครงการนํากล่องกระดาษอุตสาหกรรมกลับมาใช้ใหม่ของ บริษัท เดลต้า อิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จํากัด (มหาชน) เป็นต้น

โดยในปี 2564 สามารถนําวัสดุเหลือใช้ (กระดาษ) กลับมาสู่กระบวนการรีไซเคิลได้ทั้งสิ้นจํานวน 561 ต้น ซึ่งในปี 2565 SCGP Recycle ยังคงมีโครงการที่ดําเนินการร่วมกับพันธมิตรอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ SCGP Recycle ยังให้บริการการจัดการวัสดุรีไซเคิล (กระดาษและพลาสติกเหลือใช้) ของพันธมิตรภาคธุรกิจ เช่น CPALL, Lotus Home Pro, Central JD, Tops, ไทยวัสดุ, Villa Market, Lazada และ Shopee เป็นต้น โดยทาง SCGP Recycle เป็นผู้ให้บริการจัดเก็บและนําส่งไปยังโรงงานรีไซเคิลโดยตรง

โครงการ SCGP Recycle นอกจากช่วยสานต่อความตั้งใจของผู้บริโภคที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อมแล้ว ยังช่วยส่งเสริมภาพลักษณ์ผู้ประกอบการองค์กรด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืนและสามารถนําไปใช้อ้างอิงในรายงานมาตรฐานต่าง ๆ เพื่อสะท้อนความตั้งใจในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของลูกบ้าน พนักงาน และชุมชน จากความร่วมมือกันเพื่อสร้างความยั่งยืนสู่สังคม