ระบบบริหารจัดการด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย

อาชีวอนามัยและความปลอดภัยเป็นหนึ่งในประเด็นการพัฒนาอย่างยั่งยืนที่สำคัญ (Enterprise Materiality) ของ SCGP ตลอดระยะเวลาในการดำเนินธุรกิจ SCGP มุ่งมั่นยกระดับระบบบริหารจัดการด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยอย่างต่อเนื่องทั้งในและต่างประเทศ การนำเทคโนโลยีดิจิตัลมาปรับใช้ในการสนับสนุนการดำเนินงาน ตลอดจนส่งเสริมการดำเนินการด้านความปลอดภัยให้เป็นวัฒนธรรม เพื่อบรรลุวิสัยทัศน์ในการเป็นองค์กรที่ปราศจากการบาดเจ็บและการเจ็บป่วยจากการทำงาน (Injury and Illness Free)

เป้าหมาย

1
จำนวนอุบัติเหตุถึงขั้นเสียชีวิตของพนักงานและคู่ธุรกิจ = 0 ราย ในทุกปี
2
อัตราการเจ็บป่วยและโรคจากการทำงานของพนักงาน (ราย/1,000,000 ชั่วโมงการทำงาน) = 0 ราย ในทุกปี
3.
จำนวนการเจ็บป่วยและโรคจากการทำงานของพนักงาน (ราย/1,000,000 ชั่วโมงการทำงาน) = 0 ราย ในทุกปี
4.
อัตราการเกิดอุบัติเหตุถึงขั้นหยุดงานของพนักงานและคู่ธุรกิจ (ราย/1,000,000 ชั่่วโมงการทำงาน) = 0 ราย ในทุกปี

กลยุทธ์

1. ส่งเสริมภาวะผู้นำด้านความปลอดภัยของพนักงานและคู่ธุรกิจทุกบริษัทและสร้างความตระหนัก เพื่อแสดงออกถึงพฤติกรรมความปลอดภัยทั่วทั้งองค์กร
2. มุ่งมั่นยกระดับระบบบริหารจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัยทั้งในและต่างประเทศ เพื่อก้าวสู่ความเป็นเลิศด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย
3. พัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อสนับสนุนการดำเนินการด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยให้ง่ายต่อการนำไปปฏิบัติและมีประสิทธิภาพมากขึ้น

โครงสร้างการดำเนินงาน

SCGP ขับเคลื่อนการบริหารจัดการด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย ผ่านคณะกรรมการบริหารจัดการความปลอดภัยของ SCGP พร้อมด้วยคณะกรรมการวัฒนธรรมความปลอดภัย คณะกรรมการบริหารจัดการความปลอดภัยของคู่ธุรกิจ คณะกรรมการความปลอดภัยในการขนส่ง คณะกรรมการความปลอดภัยสำนักงาน และคณะกรรมการพัฒนา Intelligent Safety Management Platform ในการกำหนดนโยบาย กลยุทธ์ แผนงานระยะสั้น ระยะกลาง ระยะยาว เป้าหมายและตัวชี้วัด รวมถึงการกำกับ ดูแล ติดตามการดำเนินงานให้เป็นไปตามเป้าหมายและแผนงาน พร้อมทั้งวิเคราะห์ผลในการปรับปรุง พัฒนาให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น เพื่อสร้างความปลอดภัยสูงสุดในการปฏิบัติงาน

กรอบการบริหารจัดการด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย

SCGP ดำเนินการบริหารจัดการ ตามกรอบด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยของเอสซีจี (SCG Safety Framework) และกำกับดูแลด้วยการตรวจประเมินประสิทธิผลด้านความปลอดภัย (Safety Performance Assessment Program, SPAP) โดยมีการพัฒนาและยกระดับอย่างต่อเนื่อง ภายใต้กรอบแนวคิด มุ่งเน้นการมีส่วนร่วมในการนำระบบไปปฏิบัติด้วยความรู้ ความเข้าใจของพนักงานและคู่ธุรกิจทุกระดับ รวมถึงปรับปรุงข้อกำหนด เพื่อบริหารจัดการความเสี่ยงขององค์กร

ดูแลพนักงานหลังสถานการณ์ โควิด 19 ผ่อนคลาย

หลังสถานการณ์โควิด 19 ผ่อนคลาย สภาพการทำงาน สุุขภาพ และสภาวะ จิตใจของพนักงาน เป็นประเด็นที่ SCGP ให้ความใส่ใจ จึงดำเนินการปรับรููปแบบการทำงานและให้ความช่วยเหลือพนักงานในด้านต่างๆ ที่สำคัญ เช่น

ด้านสถานที่ทำงาน : ปรับสถานที่ทำงานใหม่ โดยเพิ่มพื้นที่การทำงาน Co-working Spaces/ Collaborative Zones

ด้านเศรษฐกิจ : ให้เงินช่่วยเหลือค่าครองชีพ เป็นกรณีพิเศษแก่พนักงาน จากสถานการณ์ ค่าครองชีพและเงินเฟ้อที่สููงขึ้น

ด้านสุุขภาพกาย : สนับสนุุนการเสริมสร้างสุุขภาพ เชิงป้องกันด้วยการจัดสถานที่ออกกำลังกาย เช่น สนามแบดมินตัน, Health Center (Fitness Center) ซึ่งประกอบไปด้วยเครื่องออกกำลังกาย รููปแบบต่างๆ คลาสการออกกำลังกายทั้งแบบ เพิ่มความแข็งแรงและความยืดหยุ่นของร่างกาย

ด้านสุุขภาพใจ : SCGP Employee Wellness Program เป็นโปรแกรมการดููแลพนักงานด้วยโครงการให้คำปรึกษาออนไลน์โดยผู้เชี่่ยวชาญจาก บริษัท iSTRONG เพื่อเสริมสร้างสุุขภาพใจ ทั้งนี้ยังรวมถึงการทำแบบประเมินสุุขภาพใจด้วยตนเอง การเผยแพร่แหล่งความรู้สุุขภาพจิต บริการโทรฉุุกเฉิน 24 ชั่วโมง และการสัมมนาออนไลน์ประเด็น ทางจิตวิทยากับการทำงานและการใช้ชีวิตประจำวัน

SCG Safety Framework และ SPAP

SCGP ใช้ระบบการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัยของเอสซีจี (SCG Safety Framework) ในการบริหารจัดการความปลอดภัยประกอบกับเครื่องมือตรวจประเมิน ประสิทธิผลด้านความปลอดภัย (Safety Performance Assessment Program, SPAP) มาอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2563 SCGP พัฒนาและยกระดับ SCG Safety Framework ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ครอบคลุมการบริหารจัดการและควบคุมความเสี่ยง การพัฒนาความรู้ความสามารถให้ผู้ปฏิบัติงาน การบริหารจัดการต้านสุขภาพและการส่งเสริมสุขภาพองค์รวม
วัฒนธรรมความปลอดภัย และความเป็นผู้นำของผู้บริหาร

SCGP ส่งเสริมเรื่องอาชีวอนามัยและความปลอดภัยให้เป็นค่านิยมหลัก (Core Value) ที่จำเป็นอย่างยิ่งในการทำงาน ผู้บริหารมีบทบาทสำคัญที่จะแสดงถึงความมุ่งมั่นในการให้ความสำคัญด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย ความมีภาวะผู้นำด้านความปลอดภัย (Management Leadership) และสนับสนุนการดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรม โดย SCGP ดำเนินการตามแนวปฏิบัติเรื่อง วัฒนธรรมความปลอดภัยและความเป็นผู้นำของผู้บริหาร (Safety Culture & Management Leadership Guideline)

SCGP มีการกำหนดโครงสร้าง หน่วยงานหรือคณะกรรมการบริหารงานด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย พร้อมกำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบของผู้ที่เกี่ยวข้องอย่างชัดเจน เพื่อให้อาชีวอนามัยและความปลอดภัยเป็นหน้าที่รับผิดชอบโดยตรงตามสายการบริหารงาน และผู้ปฏิบัติงานทุกคนได้รับทราบ และสามารถปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างปลอดภัยตามความเสี่ยง และบทบาทหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย

เพื่อให้ระบบการบริหารจัดการด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยของ SCGP ได้นำไปปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม มีการกำหนดแผนงานระยะสั้น ระยะกลาง ระยะยาว เป้าหมาย ตัวชี้วัดทั้งเชิงรุกและเชิงรับ รวมถึงกระจายตัวชี้วัดนั้นให้สอดคล้องไปยังระดับหน่วยงาน /บุคคล เพื่อให้สามารถใช้วัดผลการดำเนินงาน ติดตาม เพื่อให้เกิดการพัฒนา ปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง

SCGP กำหนดแนวทางในการพัฒนาความรู้ความสามารถของพนักงานและคู่ธุรกิจ เพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานสามารถปฏิบัติงานได้อย่างปลอดภัย เช่น การอบรมหลักสูตรพื้นฐานตามกฎหมาย หลักสูตรความปลอดภัยทั่วไป การอบรมตามลักษณะงานเสี่ยง รวมถึงส่งเสริมจิตสำนึกด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย โดยมีการดำเนินการดังนี้

ตัวอย่าง SCGP OHS training course
ดาวน์โหลด

SCGP ดำเนินการประเมินความสอดคล้อง และสมรรถนะการบริหารจัดการด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย พร้อมนำผลที่ได้มาแก้ไขป้องกัน ในการปรับปรุงระบบอย่างต่อเนื่อง บริษัทใน SCGP ต้องดำเนินการตรวจประเมินภายในอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง และตรวจประเมินจากบุคลากรภายนอกบริษัท ในหัวข้อการประเมินความสอดคล้องตามกฎหมาย (Compliance Audit) อย่างน้อยทุกๆ 2 ปี

SCGP กำหนดและดำเนินการตามคู่มือ มาตรฐานการปฏิบัติงานในรายงานข้อมูล การสอบสวนและการวิเคราะห์อุบัติการณ์อย่างเป็นระบบ เพื่อให้มีการดำเนินการแก้ไขและการป้องกันอุบัติการณ์ที่ส่งผลให้เกิดการบาดเจ็บ การเจ็บป่วยและโรคจากการทำงานที่เกิดขึ้นอย่างมีประสิทธิผล

มาตรฐานการปฏิบัติงานในรายงานข้อมูล การสอบสวนและการวิเคราะห์อุบัติการณ์
ดาวน์โหลด

SCGP บริหารจัดการความเสี่ยงด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย ผ่านกระบวนการชี้บ่งอันตรายที่ส่งผลกระทบต่อความปลอดภัยและสุขภาพของผู้ปฏิบัติงาน การประเมินระดับความเสี่ยง เพื่อนำไปสู่การกำจัด ลด และควบคุมอันตราย หรือความเสี่ยงเหล่านั้นให้อยู่ในระดับที่ยอมรับได้ในทุกกิจกรรม กระบวนการ ทุกพื้นที่ และผลิตภัณฑ์ของบริษัท

ตัวอย่างการประเมินความเสี่ยงระบบบริหารจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในสถานที่ปฏิบัติงานและความปลอดภัยในการเดินทางและขนส่ง
ดาวน์โหลด

SCGP ดำเนินการด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยสำหรับโครงการใหม่ และกรณีมีการเปลี่ยนแปลงที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย โดยต้องมีการวิเคราะห์ผลกระทบ เพื่อนำไปสู่การกำจัด ลด หรือควบคุม ผลกระทบที่อาจเกิดจากการเปลี่ยนแปลงนั้น รวมถึงมีการทบทวนความปลอดภัยก่อนเริ่มดำเนินการ

SCGP มีการบริหารจัดการทรัพยากรที่จำเป็นต้องใช้ในการตอบโต้และบริหารภาวะฉุกเฉินที่สอดคล้องกับความเสี่ยงของบริษัท เช่น อัคคีภัย ระเบิด สารเคมีรั่วไหล เป็นต้น โดยแต่ละบริษัทต้องจัดทำมาตรฐานการปฏิบัติงานและแผนปฏิบัติการด้านภาวะฉุกเฉิน จัดให้มีการอบรมให้กับผู้ปฏิบัติงานและฝึกซ้อมการปฏิบัติการในภาวะฉุกเฉิน อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง

SCGP บริหารจัดการดูแลเครื่องจักร เครื่องมือ อุปกรณ์ต่างๆ ให้มีความเที่ยงตรงของกลไก ทำงานถูกต้อง สมบูรณ์ น่าเชื่อถือ และปลอดภัย (Mechanical Integrity) เพื่อให้มั่นใจถึงประสิทธิภาพของเครื่องจักร เครื่องมือ อุปกรณ์ต่างๆ ที่ใช้ในการปฏิบัติงาน ซึ่งอาจก่อให้เกิดความเสียหายในระดับที่มีความรุนแรงสูงต่อชีวิต ทรัพย์สิน รวมถึงกระบวนการผลิตที่ต้องหยุดชะงัก

เพื่อให้การจัดการสุขภาพมีประสิทธิภาพ และมุ่งสู่เป้าหมายการปราศจากการเจ็บป่วย และโรคจากการทำงาน (Occupational Illness & Disease Free) SCGP ดำเนินการครอบคลุมตั้งแต่การบริหารจัดการความเสี่ยงสุขภาพ การตรวจวัดด้านสุขศาสตร์อุตสาหกรรม การเฝ้าระวังสุขภาพและการจัดการกรณีมีภาวะสุขภาพผิดปกติและอาจกระทบกับการทำงาน การสอบสวน วิเคราะห์ รายงานการเจ็บป่วย และโรคจากการทำงาน รวมถึงการส่งเสริมสุขภาพองค์รวม

SCGP บริหารจัดการความปลอดภัยของคู่ธุรกิจ โดยดำเนินการผ่านคณะทำงาน CSM ในการกำกับดูแลตั้งแต่กระบวนการคัดเลือก การจัดเตรียมเอกสารด้านความปลอดภัยสำหรับว่าจ้าง การควบคุมปฏิบัติ การประเมินผลการปฏิบัติของคู่ธุรกิจ ซึ่งมีการยกระดับการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง

เป้าหมายและผลการดำเนินงานการบริหารความปลอดภัยคู่ธุรกิจ

  • 100% คู่ธุรกิจในกระบวนการผลิตผ่านการรับรองความปลอดภัย (SCG Contractor Certification System, SCS)

เพื่อสนับสนุนการนำระบบบริหารจัดการความเสี่ยงด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย ไปสู่การปฏิบัติ ในการลด ควบคุมความเสี่ยง SCGP จึงกำหนดและดำเนินการผ่านคู่มือ มาตรฐานการปฏิบัติงาน เช่น การทำงานเกี่ยวกับไฟฟ้าอย่างปลอดภัย กฎพิทักษ์ชีวิต กฎความปลอดภัยทั่วไป ระบบควบคุมการตัดแยกพลังงาน ระบบการอนุญาตปฏิบัติงาน การทำงานยกเคลื่อนย้ายวัสดุอย่างปลอดภัย การจัดการสารเคมี เป็นต้น

ความปลอดภัยในการเดินทางและขนส่ง

SCGP มุ่งมั่นบริหารจัดการความปลอดภัยในงานขนส่งและการใช้ยานพาหนะ (Transportation Safety) เพื่อเป้าหมาย “อุบัติเหตุบนท้องถนนต้องเป็นศูนย์” โดยยกระดับและดำเนินการผ่าน “มาตรฐานความปลอดภัยในงานขนส่งและการใช้ยานพาหนะ” เพื่อให้เกิดความปลอดภัยในการเดินทางของทั้งพนักงานขับรถและผู้ใช้รถใช้ถนนทุกคน

SCGP Life Saveing Rules

เดือน มิ.ย. ปี 2560 SCGP ประกาศใช้กฎพิทักษ์ชีวิต 11 ข้อ ซึ่งถือเป็นข้อตกลงร่วมกันของทุกบริษัททั้งในประเทศและต่างประเทศ และเป็นส่วนหนึ่งในสัญญาจ้างงาน ซึ่งหากมีการละเลยกฎพิทักษ์ชีวิตจะมีมาตรการลงโทษอย่างเข้มงวด โดยสื่อสารให้พนักงานและคู่ธุรกิจทุกคนรับทราบถึงแนวทางการปฏิบัติงานที่ถูกต้อง ปลอดภัย การตรวจตราและกำกับการปฏิบัติหน้างานอย่างเคร่างครัด และด้วยการรณรงค์ ส่งเสริม ตรวจตราอย่างเคร่งครัดจากเพื่อนร่วมงาน หัวหน้างาน ผู้บริหาร ทำให้จำนวนการรายงานการฝ่าฝืนกฎพิทักษ์ชีวิตมีความครอบคลุมและครบถ้วนมากขึ้น

Contractor Safety Management (CSM)

SCGP บริหารจัดการความปลอดภัยของคู่ธุรกิจ โดยดำเนินการผ่านคณะทำงาน CSM ในการกำกับดูแลตั้งแต่กระบวนการคัดเลือกที่ได้มีการพิจารณาความพร้อมของคู่ธุรกิจรวมถึงด้านความปลอดภัย การจัดเตรียมเอกสารด้านความปลอดภัยสำหรับว่าจ้าง การอบรมให้ความรู้ในการปฏิบัติงานอย่างปลอดภัย การควบคุมปฏิบัติ การประเมินผลการปฏิบัติของคู่ธุรกิจ ซึ่งมีการยกระดับการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง

เป้าหมายและผลการดำเนินงานการบริหารความปลอดภัยคู่ธุรกิจ

  • 100% คู่ธุรกิจในกระบวนการผลิตผ่านการรับรองความปลอดภัย (SCG Contractor Certification System, SCS)

ขั้นตอนการปฏิบัติงานและรายละเอียดการปฏิบัติงาน
(Work flow and detail of work)

SAFEsave

เอสซีจีพัฒนาระบบความปลอดภัยด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล SAFEsave ซึ่งมีความสามารถวิเคราะห์ขั้นสูง (Machine Learning) แจ้งเตือนอันตรายได้ ณ เหตุการณ์จริง (Real Time) และจัดเก็บฐานข้อมูลส่วนกลางแทนการบันทึกข้อมูลในกระดาษ เพื่อควบคุมความเสี่ยงอย่างรวดเร็วและทันสถานการณ์ เช่น People Classification ตรวจาอบคู่ธุรกิจที่จะเข้าปฏิบัติงานด้วย QR Code, Restricted Area for Security ตรวจสอบพื้นที่หวงห้ามผ่านกล้องวงจรปิดม OHS Database จัดเก็บ/รายงานข้อมูลด้านความปลอดภัย, STOP Progream บันทึกข้อมูลการสังเกตการณ์ เพื่อความปลอดภัยเชิงพฤติกรรม เป็นต้น

Transportation Safety

"อุบัติเหตุบนท้องถนนต้องเป็นศูนย์" เป็นความท้าทายที่ SCGP พยายามดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง โดยได้แต่งตั้งคณะกรรมการความปลอดภัยในการขนส่ง "Transportation Safty Committee" ทำหน้าที่กำกับดูแลให้เป็นไปตามมาตรฐานทั้ง Goods Transportation Safety และ Road Safety และใช้ Driver Management System กำกับดูแลความปลอดภัยตั้งแต่ก่อนการขนส่ง ระหว่างการขนส่ง และหลังการขนส่ง เพื่อให้พนักงานขับรถของบริษัทและคู่ธุรกิจขนส่งรวมถึงประชาชนทั่วไปที่ใช้เส้นทางร่วมกันเกิดความปลอดภัยสูงสุด

Performance

Parameter Performance
2022 Fatality Rate - Employees 0
2022 Fatality Rate - Contractors 0
2023 Fatality Rate - Workforce 0.08
2023 Number of Contractors 18,058
2023 Lost Time Incident Rate - Employees 0.08
2023 Total Recordable Incident Rate - Employees 0.27
2023 Lost Time Incident Rate - Contractors 0.09
2023 Total Recordable Incident Rate - Contractors 0.18
2023 Total Recordable Incident Rate - Workforce 0.45
2023 Lost Time Incident Rate - Workforce 0.17