การกำกับดูแลกิจการ

มุ่งมั่นกำกับดูแลอย่างเป็นธรรมและโปร่งใส สร้างความตระหนักในพนักงานทุกระดับ

เป้าหมาย ผลการดำเนินงานปี 2565
ได้รับการประเมินคะแนนระดับดีเลิศ (5 ดาว) จากการประเมินตามโครงการสำรวจการกำกับดูแลกิจการบริษัทจดทะเบียนประจำปี 2565 ระดับดีเลิศ (5 ดาว)
การปฏิบัติที่ผิดนโยบายต่อต้านคอร์รัปชันเป็นศูนย์ 0 กรณี
พนักงานเรียนรู้และทดสอบด้านจริยธรรมผ่าน Ethics e-Testing ร้อยละ 100 ร้อยละ 100

กลยุทธ์การดำเนินงาน

กำหนดนโยบายและแนวปฏิบัติด้านบรรษัทภิบาลให้สอดคล้อง และเป็นทิศทางเดียวกันทั่วทั้งองค์กร
ทบทวนนโยบายและแนวปฏิบัติด้านบรรษัทภิบาลให้เหมาะสมกับกลยุทธ์ของบริษัทและความท้าทายจากการเปลี่ยนแปลงเป็นประจำ อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
สื่อสารและสนับสนุนให้พนักงานและคู่ธุรกิจเกิดความเข้าใจ ตระหนัก และปฏิบัติตามนโยบายและแนวปฏิบัติบรรษัทภิบาล จรรยาบรรณเอสซีจี แพคเกจจิ้ง และจรรยาบรรณคู่ธุรกิจอย่างจริงจัง

แนวปฏิบัติในการกำกับดูแลกิจการของ SCGP

องค์ประกอบของคณะกรรมการบริษัท

คณะกรรมการของ SCGP ประกอบด้วยกรรมการ 12 คน โดย 8 (หรือ 66.6% ของจำนวนกรรมการทั้งหมด) เป็นกรรมการอิสระ โดยมีกรรมการที่ไม่ใช่ ผู้บริหาร 11 คน คิดเป็นสัดส่วนมากกว่า 90% ของจำนวนกรรมการทั้งหมด ประธานกรรมการเป็นกรรมการอิสระและไม่ได้ดำรงตำแหน่ง นอกจากนี้ คณะกรรมการบริษัทได้กำหนดคุณสมบัติของกรรมการอิสระในเรื่องการถือหุ้นไว้ที่ไม่เกินร้อยละ 0.5 ของจำนวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมดของบริษัท บริษัทใหญ่ บริษัทย่อย บริษัทร่วม ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ หรือผู้มีอำนาจควบคุมของบริษัท ทั้งนี้ ให้นับรวมการถือหุ้นของผู้ที่เกี่ยวข้องรายนั้น ๆ ด้วย จึงทำให้หลักเกณฑ์การถือหุ้นที่บริษัทกำหนดไว้นี้เข้มกว่าเกณฑ์ที่กำหนดในประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน

สัดส่วนกรรมการ

กรรมการหญิง 3 ท่าน (25%)

ข้อมูลเกี่ยวกับคณะกรรมการบริษัท

ข้อมูลการดำรงตำแหน่งกรรมการ / ผู้บริหารในบริษัทอื่นที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เปิดเผยในรายงานประจำปี

กฎบัตรคณะกรรมการบริษัท กำหนดให้กรรมการบริษัทดำรงตำแหน่งกรรมการในบริษัทจดทะเบียนอื่นรวมไม่เกิน 4 บริษัท ในปี 2565 จำนวนบริษัทจดทะเบียนอื่นที่กรรมการบริษัทที่ไม่ใช่ผู้บริหารดำรงตำแหน่งกรรมการ / ผู้บริหาร ไม่เกิน 4 บริษัท ดังแสดงในตารางด้านล่าง.

ลำดับ รายชื่อกรรมการบริษัทที่ไม่ใช่ผู้บริหาร จำนวนบริษัทจดทะเบียนอื่นที่กรรมการบริษัทที่ไม่ใช่ผู้บริหารดำรงตำแหน่งกรรมการ / ผู้บริหาร รายงานประจำปี (หน้า)
1. นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล 3 148
2. พันตำรวจเอก ธรรมนิธิ วนิชย์ถนอม 2 150
3. นางไขศรี เนื่องสิกขาเพียร 3 151
4. นายชาลี จันทนยิ่งยง 1 152
5. นางผ่องเพ็ญ เรืองวีรยุทธ 1 153
6. ศาสตราจารย์พิเศษกิติพงศ์ อุรพีพัฒนพงศ์ 1 154
7. นายวนัส แต้ไพสิฐพงษ์ 1 155
8. นายวิบูลย์ ตวงสิทธิสมบัติ 0 156
9. นางศุภจี สุธรรมพันธุ์ 2 157
10. นายธีรพงศ์ จันศิริ 4 158
11. นายธรรมศักดิ์ เศรษฐอุดม 1 149

การรายงานภาษีและอัตราภาษีที่แท้จริง

SCGP ได้กำหนดนโยบายภาษี ซึ่งได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการบริษัทแล้ว นโยบายภาษีแสดงให้เห็นถึงปรัชญาของ SCGP และบริษัทในเครือ คือ การดำเนินธุรกิจด้วยความเป็นธรรม ยึดมั่นในความรับผิดชอบต่อสังคมและผู้มีส่วนได้เสีย ทั้งหมดเป็นไปตามนโยบายการกำกับดูแลกิจการและจรรยาบรรณของบริษัท ดำเนินธุรกิจด้วยความโปร่งใส เป็นธรรม และปฏิบัติตามกฎหมายและระเบียบข้อบังคับในทุกประเทศที่ SCGP ดำเนินการอย่างเต็มที่

การกำกับดูแลและการปฏิบัติตามจรรยาบรรณสำหรับธุรกิจของเอสซีจี แพคเกจจิ้ง

คณะกรรมการบริษัทได้อนุมัติและบังคับใช้คู่มือบรรษัทภิบาล เอสซีจี แพคเกจจิ้ง (SCGP Corporate Governance Handbook) ซึ่งประกอบด้วย โครงสร้างและกลไกในการกำกับดูแลกิจการ นโยบายและแนวปฏิบัติในการกำกับดูแลกิจการ โดยมีเนื้อหาครอบคลุมถึงจรรยาบรรณทางธุรกิจ (Business Ethics) ซึ่งในที่นี้บริษัทเรียกว่า SCGP’s Code of Conduct เพื่อให้พนักงานทุกคน ครอบคลุมถึงพนักงานประจำ และพนักงานสัญญาจ้างพิเศษ (SCGP ไม่มีการจ้างพนักงาน part time) ปฏิบัติตาม โดยมีคณะกรรมการบริษัททำหน้าที่กำกับดูแล ผ่านการปฏิบัติตนเป็นตัวอย่างที่ดีของคณะผู้บริหาร นอกจากนี้ยังมอบหมายให้คณะกรรมการตรวจสอบและคณะกรรมการบรรษัทภิบาลและสรรหาทำหน้าที่กำกับดูแล (Oversight) การปฏิบัติงานให้เป็นไปตามหลักการกำกับดูแล (Governance) การบริหารความเสี่ยง (Risk) การกำกับดูแลการปฏิบัติงาน (Control) อีกด้วย โดยโครงสร้างบรรษัทภิบาล เอสซีจี แพคเกจจิ้ง แสดงดังแผนผังด้านล่าง

การสื่อสาร

บริษัท เอสซีจี แพคเกจจิ้ง จำกัด (มหาชน) (บริษัท) มุ่งมั่นสื่อสาร ส่งเสริมและสนับสนุน ให้เกิดการเรียนรู้ ทำความเข้าใจ กำหนดแนวทางการกำกับดูแลและจริยธรรมธุรกิจให้ปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้อง ผ่านการเป็นแบบอย่างที่ดีตั้งแต่คณะกรรมการบริษัทและผู้บริหารระดับสูง (Tone from the Top) ทั้งนี้ บริษัทกำหนดให้มีการเรียนรู้และทำแบบทดสอบผ่าน ethics e-testing โดยพนักงานทุกระดับเป็นประจำทุกปีอย่างต่อเนื่อง ซึ่ง ณ ปัจจุบันกำหนดไว้ที่เดือนกรกฎาคมของทุกปี และทำการสอดแทรกเนื้อหาจรรยาบรรณเข้าในทุกหลักสูตรพื้นฐานของบริษัท

นอกจากนี้บริษัทยังได้จัดทำจรรยาบรรณคู่ธุรกิจ เอสซีจี แพคเกจจิ้ง (Supplier Code of Conduct) ซึ่งระบุแนวปฏิบัติเกี่ยวกับจรรยบรรณทางธุรกิจ (Business Ethics) ไว้อย่างชัดเจน เพื่อสื่อสารให้คู่ธุรกิจของบริษัท มีความเข้าใจที่ถูกต้อง และนำไปใช้เป็นบรรทัดฐานในการดำเนินธุรกิจต่อไป

การตรวจสอบ

นอกเหนือจากการกำหนดนโยบายและสื่อสารจรรยาบรรณทางธุรกิจแล้ว สำนักงานตรวจสอบทำหน้าที่ประเมินความเสี่ยงการปฏิบัติงานตาม SCGP’s Code of Conduct ในแต่ละกระบวนการปฏิบัติงาน (Operation) ของบริษัทและบริษัทย่อย เพื่อจัดลำดับความเสี่ยง (Prioritization) และดำเนินการตรวจสอบเป็นประจำทุกปี

ระบบการรับข้อร้องเรียน

บริษัทได้พัฒนาระบบการรับข้อร้องเรียน (Whistleblowing System) สำหรับพนักงานและผู้มีส่วนได้เสียอื่นเพื่อรับแจ้งเบาะแสการปฏิบัติที่ไม่เป็นไปตามหลักบรรษัทภิบาล คู่มือจรรยาบรรณ นโยบายการกำกับดูแลการปฏิบัติงาน ระเบียบข้อบังคับ นโยบายต่อต้านคอร์รัปชัน และกฎหมาย รวมถึงการกระทำทุจริต อุดมการณ์ 4 จรรยาบรรณเอสซีจี แพคเกจจิ้ง หรือจรรยาบรรณคู่ธุรกิจ นอกเหนือจากการร้องเรียนด้วยวาจา โทรศัพท์ หรือเป็นลายลักษณ์อักษรผ่านทาง e-mail จดหมาย โดยพนักงานสามารถแจ้งผ่าน Web Intranet ที่สามารถร้องเรียนได้ทั้งแบบเปิดเผยชื่อและไม่เปิดเผยชื่อ และผู้มีส่วนได้เสียอื่นแจ้งผ่าน เว็บไซต์ (https://www.scgpackaging.com/th) ซึ่งเป็นการร้องเรียนแบบเปิดเผยชื่อ ทั้งภาษาไทยและอังกฤษได้ตลอดเวลา โดยบริษัทกำหนดขั้นตอนการดำเนินงานเมื่อได้รับข้อร้องเรียนไว้อย่างชัดเจน ตั้งแต่การรวบรวมข้อเท็จจริงโดยทำเป็นความลับ การตั้งคณะทำงานตรวจสอบข้อเท็จจริง การตั้งคณะกรรมการสอบสวน การพิจารณาอนุมัติการลงโทษ รวมไปถึงการรายงานผลข้อร้องเรียน ดังแสดงในผังกระบวนการดำเนินการเมื่อได้รับข้อร้องเรียนด้านล่าง

โดยผู้ร้องเรียนสามารถติดตามผลข้อร้องเรียนผ่านระบบได้ ทั้งนี้ข้อเท็จจริงจากการสอบสวนได้ถูกนำมากำหนดวิธีปฏิบัติและแนวทางการป้องกันต่อไป ระบบดังกล่าวช่วยส่งเสริมการดำเนินธุรกิจอย่างมีคุณธรรมและพัฒนาอย่างยั่งยืนมากยิ่งขึ้น สำหรับความปลอดภัยของระบบจะใช้ Password 2 ชั้นและใช้ Server แยกเป็นอิสระจากการใช้งานอื่น ๆ เพื่อรักษาความปลอดภัยและป้องกันการรั่วไหลของข้อมูลไปสู่บุคคลที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งรักษาความลับและให้ความคุ้มครองผู้ร้องเรียนตามจรรยาบรรณเอสซีจี แพคเกจจิ้ง และนโยบายการรับเรื่องร้องเรียนการทุจริตและการกระทำผิด นอกจากนี้คณะกรรมการตรวจสอบได้สอบทานผลสรุปการสอบสวน บทลงโทษ และการกำหนดแนวทางเชิงป้องกันที่อาจเกิดขึ้นในระบบต่าง ๆ ตามความเหมาะสมกับสภาพการดำเนินธุรกิจ

การให้ความคุ้มครองผู้ร้องเรียน

บริษัทได้กำหนดมาตรการคุ้มครองและให้ความเป็นธรรม แก่ผู้ที่แจ้งข้อมูลหรือให้เบาะแสเกี่ยวกับการทุจริตหรือไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย กฎระเบียบ ข้อบังคับบริษัท จรรยาบรรณเอสซีจี แพคเกจจิ้ง และนโยบายการรับเรื่องร้องเรียนการทุจริตและการกระทำผิด โดยมีรายละเอียดดังนี้

  1. ผู้ร้องเรียนที่เป็นบุคลากรของบริษัทสามารถเลือกที่จะไม่เปิดเผยตนเองได้หากเห็นว่าการเปิดเผย อาจทำให้เกิดความเสียหายกับตนเอง อย่างไรก็ตามหากเลือกที่จะเปิดเผยตนเองก็จะทำให้ผู้รับข้อร้องเรียนสามารถรายงานความคืบหน้า ชี้แจงข้อเท็จจริงให้ทราบได้ หรือบรรเทาความเสียหายได้สะดวกและรวดเร็วยิ่งขึ้น
  2. บริษัทถือว่าข้อมูลที่เกี่ยวข้องเป็นความลับและจะเปิดเผยเท่าที่จำเป็น โดยคำนึงถึงความปลอดภัยและความเสียหายของผู้รายงาน แหล่งที่มาของข้อมูล หรือบุคคลที่เกี่ยวข้อง
  3. กรณีที่ผู้ร้องเรียนเห็นว่าตนอาจได้รับความไม่ปลอดภัย หรืออาจเกิดความเดือดร้อนเสียหาย ผู้ร้องเรียนสามารถร้องขอให้บริษัทกำหนดมาตรการคุ้มครองที่เหมาะสมก็ได้ หรือบริษัทอาจกำหนดมาตรการคุ้มครองโดยผู้ร้องเรียนไม่ต้องร้องขอก็ได้ หากเห็นว่าเป็นเรื่องที่มีแนวโน้มที่จะเกิดความเสียหายหรือความไม่ปลอดภัย
  4. บริษัทจะใช้วิธีการที่เหมาะสมและเป็นธรรมโดยไม่ตอบโต้ ไม่กลั่นแกล้ง และไม่เลือกปฏิบัติต่อผู้ร้องเรียน ผู้แจ้งข้อมูล หรือผู้ให้เบาะแสที่ได้ร้องเรียน แจ้งข้อมูล หรือให้เบาะแสเกี่ยวกับการทุจริตหรือการไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย กฎระเบียบ ข้อบังคับบริษัท หรือจรรยาบรรณเอสซีจีแพคเกจจิ้ง รวมไปถึงการที่บุคคลนั้นฟ้องร้องดำเนินคดี เป็นพยาน ให้ถ้อยคำ หรือให้ความร่วมมือต่อศาลหรือหน่วยงานของรัฐ โดยถือว่าการไม่ปฏิบัติตามแนวทางดังกล่าวถือเป็นการทำผิดวินัยที่ต้องได้รับโทษ รวมทั้งอาจได้รับโทษตามที่กฎหมายกำหนด
  5. ผู้ที่ได้รับความเดือดร้อนเสียหายจะได้รับการบรรเทาควมเสียหายด้วยกระบวนการที่มีความเหมาะสมและเป็นธรรม

การรายงานการละเมิด

ในปี 2565 มีข้อร้องเรียนผ่านระบบข้อร้องเรียนที่บุคคลภายนอกและพนักงานมีส่วนร่วมในการแจ้งเบาะแสของผู้กระทำความผิดอันเกิดจากการไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบบริษัท นโยบายต่อต้านคอร์รัปชัน นโยบายบรรษัทภิบาล อุดมการณ์ 4 จรรยาบรรณเอสซีจี แพคเกจจิ้ง หรือจรรยาบรรณคู่ธุรกิจ รวมทั้งสิ้น 6 เรื่อง ดำเนินการสอบสวนข้อเท็จจริงแล้วเสร็จรวม 5 เรื่อง (อยู่ระหว่างการสอบสวน 1 เรื่อง) แบ่งเป็นเรื่องที่ไม่เป็นไปตามข้อร้องเรียนหรือหลักฐานไม่ชัดเจน 4 เรื่อง ผิดจรรยาบรรณ 0 เรื่อง การบริหารงานที่ไม่เหมาะสม 1 เรื่อง และไม่มีเรื่องที่ผิดจรรยาบรรณ นโยบายต่อต้านคอร์รัปชัน นโยบายการแข่งขันทางการค้า สิทธิมนุษยชน และการใช้ข้อมูลภายใน โดยมูลค่าความเสียหายไม่มีนัยสำคัญ

การรายงานการละเมิด จำนวนข้อร้องเรียน
2563 2564 2565
จำนวนข้อร้องเรียนทั้งหมด 11 8 6
ประเภทข้อร้องเรียนที่สอบสวนแล้วเสร็จ 11
(เป็นข้อร้องเรียนของปี 2562 จำนวน 1 เรื่อง)
7 5
จำนวนข้อร้องเรียนที่อยู่ระหว่างการสอบสวน 0 1 1
ข้อร้องเรียนแบ่งตามประเภท
1. ผิดจรรยาบรรณหรือทุจริต
1.1 ความขัดแย้งทางผลประโยชน์ 0 1 0
1.2 การคอร์รัปชัน 0 0 0
1.3 การละเมิดสิทธิมนุษยชน 0 0 0
  • 1.3.1 การล่วงละเมิดทางเพศ
0 0 0
  • 1.3.2 การล่วงละเมิดในรูปแบบอื่น ๆ
0 0 0
  • 1.3.3 การเลือกปฏิบัติ
0 0 0
1.4 การแข่งขันทางการค้า 0 0 0
1.5 การใช้ข้อมูลภายใน 0 0 0
1.6 อื่น ๆ 0 0 0
2. การไม่ปฏิบัติตามกฎระเบียบของบริษัท/ขาดการบริหารงานที่ดี 1 2 1
3. ไม่เป็นไปตามข้อร้องเรียน 10 4 4

การติดตามและรายงานผลการปฏิบัติงาน

สำนักงานตรวจสอบทำหน้าที่รายงานผลการปฏิบัติงานด้านจริยธรรมของธุรกิจผ่านคณะกรรมการตรวจสอบ คณะกรรมการบรรษัทภิบาลและสรรหา และคณะกรรมการบริษัทเป็นประจำทุกปี นอกจากนี้ ยังมีการนำข้อเท็จจริงจากการละเมิดจรรยาบรรณธุรกิจ มากำหนดวิธีปฏิบัติและแนวทางการป้องกัน ซึ่งจะช่วยส่งเสริมการดำเนินธุรกิจอย่างมีคุณธรรมและก่อให้เกิดการพัฒนาด้านจริยธรรมทางธุรกิจอย่างยั่งยืนมากยิ่งขึ้น

ตัวอย่างการดำเนินการแก้ไข รวมถึงมาตรการป้องกันการเกิดซ้ำ

กรณีผิดจรรยาบรรณ

  • สื่อสารจรรยาบรรณ เอสซีจี แพคเกจจิ้ง เพื่อเน้นย้ำการเข้าไปเกี่ยวข้องกับการทำธุรกรรมกับผู้เกี่ยวข้องทางธุรกิจของเอสซีจี แพคเกจจิ้งหรือ พนักงานของเอสซีจี แพคเกจจิ้งที่อาจก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์

กรณีการบริหารงานที่ไม่เหมาะสม

  • จัดทำคู่มือการปฏิบัติงานให้ชัดเจนและเป็นลายลักษณ์อักษร เพื่อใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติงาน เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงนโยบาย/ขั้นตอนการทำงานให้แก้ไขคู่มือการปฏิบัติงานให้เป็นปัจจุบัน พร้อมทั้งสื่อสารให้ผู้ปฏิบัติงานทราบ เพื่อให้เกิดความเข้าใจตรงกันและนำไปปฏิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • จัดสัมมนาเชิงป้องกันเรื่อง “กรณีศึกษา เรื่องการทุจริตการไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ นโยบายบริษัท และจรรยาบรรณ และแนวป้องกัน 3 ด่าน (Three Lines Model)” ให้กับหน่วยงานที่มีความเสี่ยงต่อการกระทำผิด หรือเกี่ยวข้องกับการทำธุรกรรมทางการเงิน การติดต่อกับหน่วยงานภายนอก เป็นต้น
  • ปรับเปลี่ยนวิธีการสื่อสารคู่มือจรรยาบรรณเอสซีจี แพคเกจจิ้ง ให้สอดคล้องกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 การปฏิบัติงานในช่วง Work from Home โดยผู้รับผิดชอบได้จัดทำ VDO Clip และแบบทดสอบความเข้าใจเบื้องต้นเรื่องจรรยาบรรณเอสซีจี แพคเกจจิ้ง เพื่อให้เข้าถึงได้ง่าย
  • ทดสอบความรู้ ความเข้าใจในเรื่องจรรยาบรรณเอสซีจี แพคเกจจิ้ง และนโยบายต่อต้านคอร์รัปชัน ผ่านทาง“Ethics e-Testing” โดยพนักงานที่ทำแบบทดสอบทุกคนต้องผ่านการทดสอบด้วยคะแนนร้อยละ 100

การกำกับดูแลด้านความปลอดภัยสารสนเทศและความปลอดภัยทางไซเบอร์ (Cybersecurity Governance)

SCGP มีการกำกับดูแลด้านความปลอดภัยสารสนเทศและความปลอดภัยทางไซเบอร์ ผ่านการบริหารงานใน 3 ระดับ ตั้งแต่ระดับคณะกรรมการกำกับดูแล ระดับบริหาร และระดับปฏิบัติการ

  1. ระดับคณะกรรมการกำกับดูแล - SCGP เข้าร่วมเป็นคณะกรรมการใน
    1) คณะกรรมการกำกับดูแลสารสนเทศของ SCG (SCG IT Governance Committee (ITG)) และ
    2) คณะกรรมการกำกับดูแลความปลอดภัยทางไซเบอร์ของ SCG (SCG Cybersecurity Governance Committee) เพื่อร่วมกำหนดทิศทางการกำกับดูแลและการนำมาใช้กับ SCGP. ตัวแทนของ SCGP ใน ITG คือ Technology and Digital Platform Director and Information Technology Director เป็นตัวแทน SCGP ในคณะกรรมการกำกับดูแลความปลอดภัยทางไซเบอร์ของ SCG
    บทบาทหน้าที่
    - The ITG has responsibility of establishing policies and regulations regarding the use of IT and communication technology of SCG (SCG e-Policy) in accordance with ISO 27001
    - - The Cybersecurity Governance Committee was appointed to oversee SCG’s information technology security practices, to ensure that they are aligned with business directions and can effectively prevent business operations from cyber threats.
  2. ระดับบริหาร - Technology and Digital Platform Director เป็นผู้ดูแลการบริหารงานด้านความปลอดภัยสารสนเทศและความปลอดภัยทางไซเบอร์ของ SCGP โดยรับนโยบายและแนวปฏิบัติจาก SCG และเป็นหนึ่งในคณะกรรมการ SCG ITG และนำมากำกับดูแลในบริบทของ SCGP โดยรายงานตรงต่อประธานเจ้าหน้าที่บริหาร
  3. ระดับปฏิบัติการ - หน่วยงาน Information Technology กำกับดูแลโดย Information Technology Director ผู้ซึ่งเป็นหนึ่งในคณะกรรมการใน SCG Cybersecurity Governance Committee และมีหน้าที่กำกับการดำเนินงานของหน่วยงาน IT Governance ซึ่งรับผิดชอบงานด้านความปลอดภัยสารสนเทศและความปลอดภัยทางไซเบอร์โดยตรง

ทำให้มั่นใจได้ว่า SCGP มีการกำกับดูแลด้านความปลอดภัยสารสนเทศและความปลอดภัยทางไซเบอร์ที่เป็นลำดับและชัดเจน ดังแสดงในแผนภาพ

การตรวจสอบภายนอกด้านไอที

SCGP ได้รับการตรวจสอบ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการตรวจสอบภายนอกของ SCG ในปี 2564 การตรวจสอบดำเนินการโดย KPMG ขอบเขตการตรวจสอบครอบคลุม (ก) การเข้าถึงโปรแกรมและข้อมูล (ข) การเปลี่ยนแปลงโปรแกรม (ค) การตรวจสอบการควบคุมแอปพลิเคชันไอที ข้อคิดเห็นอันมีค่าจาก KPMG ได้ถูกนำไปใช้เพื่อความปลอดภัยของข้อมูลที่ดีขึ้น

นโยบายการสรรหาประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (CEO), ผู้บริหารระดับสูง (Executives) และแผนสืบทอดตำแหน่ง (Succession Plan)

การจัดทำแผนสืบทอดตำแหน่งผู้บริหารขององค์กร (Succession Plan) ถือเป็นเครื่องมือสำคัญของการเปลี่ยนผ่านผู้บริหารแต่ละรุ่นให้สอดรับกับวิสัยทัศน์ แผนพัฒนาธุรกิจระยะปานกลาง และเป้าหมายการเติบโตที่ยั่งยืน โดยมีรายละเอียดดังนี้

  1. กำหนดทักษะที่จำเป็นของประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (CEO) และผู้บริหารระดับสูง (Executives) พิจารณาจากคุณลักษณะ ความรู้ และความสามารถที่เหมาะสมต่อองค์กร (Organization Capability) ในอนาคต เช่น Customer & Consumer Centricity, Technology & Digital Adaptability, Global Mindset & Perspective เป็นต้น ซึ่งกลุ่มพนักงานที่มีศักยภาพสูง จะได้รับการพัฒนาด้วยระบบการดูแลความก้าวหน้าในสายอาชีพ (Career Path) ผ่านกระบวนการเรียนรู้ต่าง ๆ ทั้งด้านการพัฒนาตามวิชาชีพ (Functional) และการพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง (Transformative Leadership) เพื่อให้พนักงานมีความพร้อมในการสนับสนุนการขยายธุรกิจทั้งในและต่างประเทศ และการขึ้นสู่การเป็นผู้นำบริษัท (CEO) หรือผู้บริหารรุ่นใหม่ในอนาคต
  2. เกณฑ์การสรรหาประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (CEO) และผู้บริหารระดับสูง (Executives) คณะกรรมการบริษัทจะพิจารณาข้อเสนอแนะของคณะกรรมการพิจารณาค่าตอบแทนและให้ความเห็นอย่างตรงไปตรงมา รอบคอบ เป็นธรรม และปราศจากอคติ เพื่อให้ได้กลุ่มพนักงาน (Successors Pool) ทั้งในประเทศและต่างประเทศที่มีศักยภาพ (Potential) มีคุณสมบัติ (Qualification) และมีความรู้ความสามารถ (Competency) เหมาะสม โดยมีเกณฑ์คือ กำหนดผู้สืบทอดตำแหน่ง (Candidates) ที่มีทักษะที่จำเป็นของผู้บริหารระดับสูงตามข้อ 1 อย่างน้อย 3 คนต่อตำแหน่ง และ คณะกรรมการบริษัทจะพิจารณา ติดตามเรื่องแผนสืบทอด และแผนพัฒนาผู้บริหารระดับสูงอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง โดยในปี 2565 ได้ดำเนินการ ในการประชุมเดือนสิงหาคม และพฤศจิกายน รวม 2 ครั้ง 
  3. กระบวนการสรรหาประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (CEO) และผู้บริหารระดับสูง (Executives) คณะกรรมการบริษัทจะเป็นผู้พิจารณาแต่งตั้งประธานเจ้าหน้าที่บริหารโดยข้อเสนอแนะของคณะกรรมการพิจารณาค่าตอบแทน นอกจากนี้ คณะกรรมการพิจารณาค่าตอบแทนมีหน้าที่ในการพิจารณาแผนสืบทอดตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหารและผู้บริหารระดับสูงของ SCGP และเสนอให้คณะกรรมการบริษัทพิจารณา เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องของการปฏิบัติงาน สามารถทดแทนกันได้โดยไม่ขาดตอน ทั้งนี้ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารมีอำนาจและหน้าที่หลักเกี่ยวกับการบริหารจัดการต่าง ๆ ของ SCGP ตามที่คณะกรรมการบริษัทมอบหมาย ดังได้ระบุไว้ในนโยบายการกำกับดูแลกิจการ ซึ่งมีการทบทวนเป็นประจำทุกปี

นอกจากนี้ SCGP ยังมีการทำแผนพัฒนารายบุคคลประจำปี (Individual Development Plan) สำหรับพัฒนา ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและผู้บริหารระดับสูง โดยวางแผนในระยะ 1-3 ปี และ 4-5 ปี เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาตนเองและเป็นการเสริมความรู้ทักษะที่จำเป็นต่อการดำเนินธุรกิจ การคิดวิเคราะห์เชิงกลยุทธ์ การสร้างเครือข่าย และการพัฒนาตามความรู้ความสามารถผู้นำ (Leadership Competency) ทั้งคุณสมบัติการเป็นผู้นำที่มีศักยภาพสูง (Talent Competency) และบทบาทความเป็นผู้นำตามระดับ (Leadership Pipeline) สำหรับผู้บริหาร/ผู้นำองค์กร (Enterprise Leader) รวมถึงแผนการโยกย้ายเพื่อการพัฒนาความรู้ ความสามารถในมุมกว้าง เตรียมตัวในการเป็นผู้สืบทอดตำแหน่ง แผนพัฒนาผู้บริหารระดับสูงยังรวมไปถึงการสนับสนุนให้ผู้บริหารเข้าร่วมในหลักสูตรที่มีความโดดเด่นในการบริหารองค์กรที่มีความหลากหลาย เช่นหลักสูตร Advanced Management Program (AMP) กับสถาบันชั้นนำของโลก เช่น Harvard Business School, Stanford University, London Business School, IMD Business School, INSEAD ทั้งนี้ประธานเจ้าหน้าที่บริหารจะนำเสนอแผนพัฒนารายบุคคลประจำปีต่อคณะกรรมการพิจารณาค่าตอบแทนเพื่อพิจารณาอนุมัติ และรายงานต่อคณะกรรมการบริษัท

การประเมินผลปฏิบัติงานและการบริหารค่าตอบแทนประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (CEO) และผู้บริหารระดับสูง (Top Executives)

คณะกรรมการบริษัท ติดตาม และประเมินผลการปฏิบัติงานของประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (CEO) และผู้บริหารระดับสูง (Top Executives) เป็นประจำทุกปี โดยมีการพิจารณาอย่างเป็นธรรม รอบคอบ โดยผลจากการปฏิบัติงานจะนำไปพิจารณาค่าตอบแทนต่อไป ขั้นตอนการประเมินผล และให้ค่าตอบแทน จะผ่านการพิจารณาเห็นชอบจากคณะกรรมการพิจารณาค่าตอบแทนในเบื้องต้น ก่อนนำเสนอคณะกรรมการบริษัท เพื่อให้ความเห็นเพิ่มเติมและอนุมัติ มีเกณฑ์การพิจารณา และประเมินจาก 2 ปัจจัย ดังต่อไปนี้

  1. ผลประกอบการของบริษัท (Performance) พิจารณาการเติบโตของบริษัท จากมุมมอง Absolute Performance และ Relative Performance เปรียบเทียบผลประกอบการปีล่าสุดกับเป้าหมายที่ตั้ง และเทียบผลประกอบการของบริษัทชั้นนำในอุตสาหกรรมเดียวกัน
  2. ดัชนีวัดความสำเร็จ (Key Performance Index: KPI) พิจารณาจาก 4 หัวข้อหลัก ตามหลัก Balanced Scorecard ครอบคลุมเรื่องสำคัญทั้งปัจจัยภายใน (Internal Factors) และปัจจัยภายนอก (External Factors) ประกอบด้วย 1) Financial & Growth เช่น Revenue growth target, EBITDA, Return on Invested Capital (ROIC), 2) Customers & Stakeholders เช่น Percentage of Regional Brand Perception, Customer Experience Score 3) Internal Business Processes เช่น Cost Saving, Revenue from High Value Added Products and Services และ 4) ESG & People เช่น Percentage of Employee Engagement, Percentage of GHG reduction, Percentage of water withdrawal reduction, LTIFR เป็นต้น 

ในส่วนของประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (CEO) จะมีมีเกณฑ์การพิจารณา และประเมินเพิ่มอีก 1 ปัจจัย ได้แก่ การสำรวจความคิดเห็นของพนักงานจัดการที่มีต่อประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (CEO Survey) พิจารณาจาก 3 หัวข้อหลักตาม Leadership Profile ประกอบด้วย Engagement, Innovation & Strategy และ Excellence ซึ่งในปี 2565 นี้ ได้เพิ่มอีก 1 หัวข้อคือ Establishing and Sharing vision on SCG ESG pathway through ESG 4 Plus both within SCG and External

สำหรับการบริหารค่าตอบแทน SCGP กำหนดงบประมาณการบริหารค่าตอบแทน ที่สอดคล้องกับผลการดำเนินงานของบริษัททั้งในระยะสั้น และระยะยาว ในการจ่ายค่าตอบแทนระยะสั้นนั้น พิจารณาจากผลการดำเนินงานของบริษัทในแต่ละปี เช่น การสร้างยอดขาย กำไรสุทธิ EBITDA ส่วนในระยะยาว (Medium-Long Term Plan) ระยะเวลาประมาณ 5 ปี เช่น การขยายธุรกิจ อัตราการเติบโตของกำไร ส่วนแบ่งการตลาด ผลการดำเนินงานการพัฒนาที่ยั่งยืน และการปรับปรุงประสิทธิภาพในการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง

SCGP – Board Independence 2020
ดาวน์โหลด
ภาษีที่จ่ายให้แก่รัฐบาลและหน่วยงานราชการท้องถิ่น SCGP ปี 2564-2565
ดาวน์โหลด