โครงสร้้างบรรษัทภิบาล SCGP

SCGP กำหนดโครงสร้างองค์กร ผู้รับผิดชอบ และการกำกับดูแลกิจการให้เหมาะสมกับธุรกิจ โดยมุ่งให้เกิดการตรวจสอบและถ่วงดุลอำนาจ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการกำกับดูแลกิจการที่ดีและการดำเนินงานที่สร้างโอกาสและคุณค่าแก่กิจการที่ยั่งยืน เพื่อให้มั่นใจว่า SCGP ดำเนินงานด้วยความรับผิดชอบ โปร่งใส และเป็นธรรม สามารถเป็นแบบอย่างที่ดีในการปฏิบัติตามหลักบรรษัทภิบาลและจรรยาบรรณ

คณะกรรมการบริษัท

แต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบ คณะกรรมการพิจารณาค่าตอบแทน และคณะกรรมการบรรษัทภิบาลและสรรหา เพื่อดำเนินงานตามหน้าที่ ที่คณะกรรมการบริษัทมอบหมาย คณะกรรมการบริษัท เป็นผู้พิจารณาและอนุมัติ โครงสร้างนโยบาย และแนวปฏิบัติ ด้านบรรษัทภิบาล ให้เป็นแนวทางเดียวกันทั่วทั้งองค์กร โดยติดตามดูแลการปฏิบัติงาน ประเมินผล และทบทวนแนวปฏิบัติ ด้านบรรษัทภิบาลทั้งในระดับประเทศและระดับสากลให้มีความเหมาะสมเป็นประจำทุกปี

คณะกรรมการบรรษัทภิบาลและสรรหา

ทำหน้าที่พิจารณาและเสนอแนะโครงสร้าง นโยบาย และแนวปฏิบัติ ด้านบรรษัทภิบาลให้คณะกรรมการบริษัทพิจารณา รวมทั้งติดตามดูแลการปฏิบัติ งานของคณะกรรมการบริษัท และคณะจัดการให้เป็นไปตามนโยบายด้านบรรษัทภิบาลอย่างเคร่งครัด

โครงสร้้างบรรษัทภิบาล SCGP

โครงสร้างการดําเนินงานเพื่อความยั่งยืน SCGP พิจารณาความเสี่ยงและโอกาส ความต้องการ และความคาดหวังของผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม เพื่อนําข้อมูลมาใช้กําหนดกลยุทธ์ การดําเนินธุรกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืน ให้เกิดความสมดุลทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม โดยมุ่งมั่นพัฒนาโซลูชันเพื่อตอบสนอง ความต้องการที่หลากหลายและแตกต่างของผู้บริโภค ภายใต้หลักเศรษฐกิจหมุนเวียน และให้ความสําคัญกับการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม และระบบนิเวศ การสร้างความปลอดภัยสูงสุดในการทํางาน รวมถึงพัฒนาชุมชนและสังคมในทุกแห่งที่เข้าไปดําเนินธุรกิจ

โดยคณะกรรมการการพัฒนาที่ยั่งยืน กำกับดูแลทั้งมิติสิงแวดล้อม สังคม
และบรรษัทภิบาล โดยมีหน้าที่ความรับผิดชอบ ดังต่อไปนี้

1
กำหนดนโยบายและกำกับดูแลให้เกิดการดำเนินธุรกิจตามแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืน ของ UN Sustainable Development Goals (UNSDGs) รวมทั้งมีแนวปฏิบัติด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และบรรษัทภิบาล (ESG) ที่สอดคล้องกับความคาดหวังของผู้มีส่วนได้เสียที่สำคัญ เพื่อเป็นแบบอย่างที่ดีด้านการพัฒนาที่ยั่งยืนทั้งในภูมิภาคและระดับสากล
2
ส่งเสริม สื่อสารและสร้างจิตสำนึกให้พนักงานและคู่ธุรกิจ มีจิตสำนึกด้าน ESG ให้บรรลุตามเป้าหมาย
3
ผลักดันให้มีการเชื่อมโยงและนำประเด็นด้านการพัฒนาที่ยั่งยืนที่สำคัญ (Materiality) เข้าไปเป็นส่วนหนึงของกลยุทธ์ธุรกิจเพื่อสร้างคุณค่าและ ความยั่งยืนแก่องค์กรและสังคมโดยรวม
4
ติดตามการนำแผนงานไปปฏิบัติ รวมถึงติดตามแผนงานประจำปี (Annual Plan) และดัชนีชี้วัดผลการดำเนินงานด้านการพัฒนาที่ยั่งยืนให้บรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้
5
ให้มีอำนาจแต่งตั้งคณะทำงานเพื่อให้การดำเนินงานสำเร็จตามวัตถุประสงค์ที่ได้ตั้งไว้
6
รายงานผลการดำเนินงานรวมทั้งเสนอแนะแนวทางในการปรับปรุงต่อคณะกรรมการการพัฒนาอย่างยั่งยืนเอสซีจีทุกไตรมาส